Blogger

เสาไฟฟ้าแรงสูง อยู่ใกล้ทำให้ป่วยจริงหรือไม่ ควรมีระยะห่างจากบ้านเท่าไหร่

หลายคนเชื่อว่าการอยู่ใกล้เสาไฟฟ้าแรงสูงเสี่ยงทำให้ป่วย หรือส่งผลเสียต่อสุขภาพระยะยาว จึงอาจทำให้หลายคนกังวล ทั้งในเรื่องของอันตรายและข้อควรระวังในการก่อสร้างบ้านหรือซื้อบ้านใกล้เสาไฟฟ้าแรงสูง บทความนี้ได้รวบรวมข้อสงสัยและสิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับการอาศัยในบริเวณที่มีเสาไฟฟ้าแรงสูง รวมถึงระยะห่างเสาไฟฟ้าแรงสูงกับสิ่งปลูกสร้างควรเป็นเท่าไหร่ เพื่อเป็นแนวปฏิบัติในการสร้างบ้านใกล้พื้นที่ที่มีเสาไฟฟ้าแรงสูงได้อย่างปลอดภัย เสาไฟฟ้าแรงสูง คืออะไร เสาไฟฟ้าแรงสูง คือ สิ่งก่อสร้างที่ติดตั้งสายไฟและระบบไฟฟ้าแรงสูง โดยระบบดังกล่าวถือเป็นแหล่งรวมพลังงานไฟฟ้ามหาศาล ทำให้บาดเจ็บแก่ชีวิตผู้คนหรือสร้างความเสียหายแก่ทรัพย์สินต่าง ๆ ได้ หากเปรียบเทียบระดับความรุนแรงของพลังไฟฟ้าแรงสูงนั้น ก็นับว่าแรงกว่าพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ทั่วไป อุปกรณ์และคอนดักเตอร์ที่ใช้ตรึงสายและเสาไฟฟ้าแรงสูงจึงต้องมีมาตรฐานและได้รับการประกันคุณภาพความปลอดภัยเป็นพิเศษ โดยทั่วไปแล้ว ระบบไฟฟ้าแรงสูงมักนำมาใช้ในอุตสาหกรรมที่ต้องผลิตพลังงานกระแสไฟฟ้ามหาศาล ได้แก่ ฉายเอ็กซ์เรย์ ฉายรังสีด้วยลำอนุภาค สร้างปรากฏการณ์อาร์คสำหรับให้เกิดการจุดประกายไฟฟ้า สร้างพลังงานในท่อสุญญากาศ รวมทั้งนำไปใช้กิจการทางทหารและวิทยาศาสตร์ คุณสมบัติของระบบไฟฟ้าแรงดันสูงสามารถส่งแรงดันไฟฟ้าได้ในระยะไกล โดยมีแรงดันไฟฟ้าสูงกว่า 1,000 โวลต์ ปัจจุบันระบบไฟฟ้าแรงสูงใช้แรงดันไฟฟ้าอยู่ที่ประมาณ 1,200-115,000 โวลต์ บางพื้นที่อาจใช้แรงดันไฟฟ้ามาถึง 230,000 โวลต์ วิธีสังเกตลักษณะเสาไฟฟ้าแรงสูงกับเสาไฟฟ้าทั่วไป (หรือเสาไฟฟ้าแรงดันต่ำ) ดูได้จากตัวเสาไฟฟ้า โดยเสาไฟฟ้าทั่วไปจะทำจากแท่งปูน ติดตั้งตามแนวบาทวิถีริมถนน ส่วนเสาไฟฟ้าแรงสูงจะเป็นเหล็ก มีขนาดใหญ่ มักติดตั้งบริเวณที่โล่งกว้าง ห่างกันหลายเมตร นอกจากนี้ เสาไฟฟ้าแรงสูงที่มีความสูงมากก็จะมีแรงดันไฟฟ้าสูงตามไปด้วย ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ เสาไฟฟ้าแรงสูงแบบวงจรเดี่ยว (ความสูง 9-32 …

เสาไฟฟ้าแรงสูง อยู่ใกล้ทำให้ป่วยจริงหรือไม่ ควรมีระยะห่างจากบ้านเท่าไหร่ Read More »

สัญลักษณ์ที่ปรากฎในแบบสถาปัตยกรรมบ้าน

โดยเบื้องต้นแบบก่อสร้างที่ถูกต้องจะต้องมีรายชื่อ เลขประจำตัว และลายเซ็นของสถาปนิกและวิศวกร และมีใบอนุญาตก่อสร้างจากหน่วยงานราชการ ซึ่งมีอายุ 1 ปี จึงควรให้ผู้รับเหมาต่ออายุใบอนุญาตก่อนหมดอายุเสมอ โดยแต่ละบริษัทอาจมีการใช้ฟอร์มของแบบก่อสร้างแตกต่างกัน แต่มีหัวข้อสำคัญที่ควรมี คือ รูปแบบการก่อสร้าง, สถานที่ก่อสร้าง, เจ้าของ, สถาปนิก, วิศวกรโยธา, วิศวกรไฟฟ้า, วิศวกรสุขาภิบาล, เขียนแบบ, วันที่ และแผ่นที่ พร้อมกับกำกับมาตราส่วนของแผนผัง และบอกรหัสและหมายเลขแบบแปลนว่าเป็นในส่วนของงานระบบอะไร โดยจะแบ่งออกเป็น รหัสตัวอักษร ความหมาย A แบบสถาปัตยกรรม S แบบวิศวกรรมโครงสร้าง EE แบบระบบไฟฟ้า SN แบบประปา-สุขาภิบาล ตัวอย่างการเขียนแบบบ้านเบื้องต้น นอกจากรายละเอียดสำคัญที่อยู่ในหัวกระดาษแล้ว อีกหนึ่งส่วนประกอบก็คือองค์ประกอบต่าง ๆ ของบ้าน อาทิ คาน เสา โครงสร้างต่าง ๆ ซึ่งในส่วนนี้จะถูกจัดยู่ในส่วนของแบบสถาปัตยกรรม แบบสถาปัตยกรรม แบบสถาปัตยกรรมคือรายละเอียดที่สถาปนิคจะเป็นผู้จัดการในส่วนนี้ ซึ่งจะเป็นเรื่องของการออกแบบตัวบ้าน ขนาดจำนวนห้อง รวมถึงความสวยงามหน้าตาของบ้าน ซึ่งจะประกอบไปด้วย แบบขยาย เสมือนการ Zoom เข้าไปดูรายละเอียดเป็นส่วน ๆ …

สัญลักษณ์ที่ปรากฎในแบบสถาปัตยกรรมบ้าน Read More »

การเตรียมงานก่อสร้าง

การก่อสร้างอาคาร คืองานก่อสร้างที่ระบุในแบบก่อสร้างอาคาร และรายการประกอบ แบบเอกสารแนบสัญญา รวมทั้งงานประกอบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างอาคาร การทางานจึงต้องมีลำดับขั้นในการปฏิบัติงาน เพื่อให้ประหยัดค่าใช้จ่าย ลดเวลาการทำงาน เกิดผลงานที่ดี มีคุณภาพงานก่อสร้างเสร็จตรงตามเวลาที่กำหนด การเตรียมสถานที่ก่อสร้างอาคาร และการศึกษาแบบก่อสร้างอาคารรายการประกอบแบบ เอกสารแนบสัญญา เพื่อเตรียมขั้นตอนการก่อสร้างอาคารและการจัด เตรียมเครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ ให้เหมาะสม กับการดำเนินงานก่อสร้างอาคารการเตรียมสถานที่ก่อสร้างอาคาร หมายถึง การศึกษาสภาพบริเวณสถานที่ที่จะทำการ ปลูกสร้างอาคาร เพื่อสำรวจ ตรวจสอบ แนวเขตที่ดิน ให้ตรงกับเอกสารสิทธิ์ถือครองที่ดิน โดยขอรายละเอียดจากเจ้าของที่จะปลูกสร้างอาคาร เช่น เอกสารสิทธิ์ถือครองที่ดินโฉนดที่ดินมาประกอบกับแบบการก่อสร้างอาคาร รายการประกอบแบบ ใบอนุญาตปลูกสร้างอาคารและให้เจ้าของที่จะปลูกสร้างอาคารมาชี้บริเวณและแนวเขตที่ดิน เพื่อเป็นการยืนยันและป้องกันการก่อสร้างอาคารผิดพื้นที่ เมื่อทำการสารวจ ตรวจสอบเรียบร้อยแล้ว ควรดูแลหมุดแนวเขตให้อยู่ในสภาพเดิมตรงตามรังวัด แล้วจึงทำการปรับสภาพพื้นที่ เช่นการตัดหรือถมดินบริเวณให้ได้ระดับดินตามแบบที่กำหนดการกาหนดแนวรั้วและที่ดินข้างเคียงตลอดจนสาธารณูปโภคที่มีความจำเป็นในการอำนวยความสะดวกระหว่างทำการก่อสร้างอาคาร การสำรวจหลักเขตที่ดินการสำรวจตรวจสอบแนวหมุดหลักเขตที่ดิน เป็นการตรวจสอบพื้นที่ให้ตรงกับเอกสาร สิทธิ์ในการถือครองที่ดิน โฉนดที่ดิน ด้วยการตรวจสอบหมุดหลักเขตที่ดินโดยการนำชี้หมุดหลักเขตของเจ้าของที่ดินที่จะปลูกสร้างอาคารว่าหมุดหลักเขตที่ดิน ที่ปักไว้แต่เดิมมีตัวเลขหรือตัวอักษรตรงกับตัวเลขหรือตัวอักษรในเอกสารสิทธิ์การถือครองที่ดิน โฉนดที่ดินหรือไม่ และหมุดหลักเขตที่ดินถูกต้องตรงตามเอกสารสิทธิ์การถือครองที่ดินโฉนดที่ดิน ไม่มีการเคลื่อนย้าย หรือหากไม่แน่ใจควรให้เจ้าของที่ดินทำการติดต่อเจ้าพนักงานที่ดิน เพื่อทำการรังวัดตรวจสอบแนวหมุดหลักเขตที่ดิน พร้อมทั้งให้เจ้าของที่ดินข้างเคียงเข้าร่วมทำการ สำรวจตรวจสอบแนวเขตที่ดิน และลงนามรับรองแนวเขตที่ดินการรักษาหมุดหลักเขตที่ดิน เจ้าของที่ดินข้างเคียงเป็นผู้มีผลประโยชน์ร่วมกันในการรักษาหมุดหลักเขตที่ดิน ไม่ให้มีการเคลื่อนย้ายหมุดหลักเขตที่ดินโดยจะต้องคอยตรวจสอบความมั่นคงของหมุดหลักเขตที่ดินให้อยู่ตรงตามตำแหน่ง ตรงกับเอกสารสิทธิ์ถือครองโฉนดที่ดินซึ่งอาจเกิดจากคนทำการขุดย้ายหมุดหลักเขตที่ดิน …

การเตรียมงานก่อสร้าง Read More »

Shop Drawing คืออะไร

Shop Drawing คือแบบที่เขียนขึ้นมาเพื่อใช้ทำงานจริง ๆ ณ สถานที่ก่อสร้าง เพราะโดยปกติ แบบที่เขียน จากบรรดาสถาปนิก-วิ ศวกร จะแยกส่วนออกจากกัน ทั้งที่การก่อสร้าง จะต้องสัมพันธ์กันเกี่ยวข้องกัน เชื่อมต่อกัน เช่น ห้องน้ำห้องหนึ่ง จะมีแบบสถาปัตยกรรม แสดงขอบเขตของห้อง แสดงผนัง- ประตู- หน้าต่าง- สุขภัณฑ์ รายละเอียดของคาน และพื้นแสดงอยู่ในแบบวิศวกรรมโครงสร้าง การเดินท่อน้ำ- ท่อส้วม- ท่อระบาย จะแสดงอยู่ในแบบวิศวกรรมสุขาภิบาล รายละเอียดดวงโคม- สวิตช์-ปลั๊ก แสดงอยู่ในแบบวิศวกร ไฟฟ้า ซึ่งในการก่อสร้างจริง รายละเอียดทุกอย่าง จะต้องสอดประสานเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน การเขียน Shop Drawing ที่จะเอารายละเอียดทุกอย่าง มาอยู่ในแผ่นเดียวกันจึงเป็นเรื่องจำเป็น และประกันความมั่นใจว่า งานก่อสร้างนั้น สามารถทำงานได้จริง ไม่ใช่โถส้วมวางอยูใกล้คานมากเกินไป ท่อส้วมเลยต้องวิ่งผ่านคาน (ซึ่งหากเป็นคานขนาดเล็ก ก็จะทำให้อาคารวิบัติได้) หรือก๊อกน้ำหมุนเปิดไม่ได้เ พราะหัวโตเกินไป จนปิดเปิดไม่ได้ เนื่องจากไปติดผนัง เป็นต้น สิ่งดังกล่าวนี้ จะเกิดปัญหาน้อยลง หากเราเสียเวลาเขียน …

Shop Drawing คืออะไร Read More »

ประตู หน้าต่าง อลูมิเนียม

ประเภทและลักษณะของประตูหน้าต่างอลูมิเนียม

“ประตู หน้าต่าง” นับเป็นองค์ประกอบสำคัญของบ้าน ที่หลายคนมองข้ามหรือไม่ได้ตรวจรายละเอียดให้ดี เพราะไม่เพียงทำหน้าที่เป็นทางเข้า-ออก รับแสงธรรมชาติ หรือเปิดรับลมเข้าสู่ตัวบ้าน แต่ยังช่วยเพิ่มความสะดวกสบาย ความปลอดภัย เสริมสร้างสุขอนามัยที่ดีต่อผู้อยู่อาศัย การเลือกใช้ประตู-หน้าต่างอลูมิเนียม ข้อควรคำนึงอันดับแรกคือยี่ห้อเส้นอลูมิเนียมที่ได้มาตรฐาน เพราะประตู-หน้าต่างอลูมิเนียมทั่วไปมักจะมีสารก่อมะเร็งตกค้างอยู่ หรือส่วนผสมของเนื้ออลูมิเนียมไม่ได้คุณภาพ และเป็นสิ่งที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า การเลือกยี่ห้อเส้นอลูมิเนียมจึงเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญ เพราะประตูหน้าต่างเป็นองค์ประกอบหนึ่งในบ้านที่อยู่กับเราไปหลายสิบปี ประเภทและลักษณะของประตูหน้าต่างแบบต่างๆ บานเลื่อน บานเลื่อนเป็นหนึ่งในประเภทประตู หน้าต่างที่นิยมใช้ ด้วยคุณสมบัติที่ช่วยประหยัดเนื้อที่ จึงเพิ่มพื้นที่ใช้สอยให้ตัวบ้านและสะดวกต่อการใช้งาน บานเลื่อนคือประตูที่เลื่อนเปิดด้วยลูกล้อและรางที่อยู่ในวงกบ มักแบ่งบานประตูเป็น 2, 3, หรือ 4 บาน โดยบานประตูอาจเลื่อนได้เป็นบางบานหรือเลื่อนได้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเลื่อนไปในทางเดียวกันเพื่อเก็บที่ฝั่งใดฝั่งหนึ่งของประตู หรือเลื่อนสลับจากแต่ละด้านเข้าหากันประตูบานเลื่อนให้ความโปร่งโล่ง ทำให้มองเห็นวิวภายนอกได้เป็นอย่างดี เหมาะสำหรับติดตั้งเป็นประตูออกไปยังระเบียง และส่วนของบ้านที่มีพื้นที่น้อย และหากใช้บานเลื่อนสำหรับกั้นระหว่างห้องหรือพื้นที่ภายในบ้าน ควรเลือกบานเลื่อนแบบที่รางแขวนอยู่ด้านบน หรือบานเลื่อนหลังเต่า เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เดินสะดุดรางบริเวณพื้น บานเปิด / บานกระทุ้ง หน้าต่างบานเปิด สามารถติดตั้งเป็นทั้งบานเปิดเดี่ยวหรือบานเปิดคู่ ขึ้นอยู่กับพื้นที่ใช้สอยที่เอื้ออำนวย หน้าต่างบานเปิดสามารถเปิดได้เพียงด้านเดียว มีระยะบานที่ยื่นออกนอกตัวบ้านการติดตั้งจึงต้องเผื่อเนื้อที่ไว้สำหรับการเปิด หน้าต่างบานเปิด/กระทุ้ง เหมาะสำหรับติดตั้งในจุดที่ใช้งานไม่บ่อย หรือต้องการเปิดบานทิ้งไว้ตลอด เพื่อการระบายลม สามรถเลือกทิศทางการเปิดของบาน ทั้งเปิดข้าง หรือ …

ประเภทและลักษณะของประตูหน้าต่างอลูมิเนียม Read More »

Curtain Wall

รู้หรือเปล่า Curtain Wall มีกี่อย่าง ?

อาคารสำนักงานใหม่ ๆ ในยุคนี้ นิยมใช้ผนังกระจกกันมาก เพราะก่อสร้างง่าย และดูเหมือนว่า จะสวยงามดี ผนังกระจกนี้ จะแนบติดกับ โครงสร้างของพื้น (หรือคาน) ไม่วางอยู่บนพื้น แบบช่องเปิดเดิมๆ ทั่วไป ผนังกระจกนี้ เรียกว่า Curtain Wall (Curtain = ม่าน, Wall = ผนัง) สามารถแยกออกได้เป็น 3 แบบคือ : แบบธรรมดา จะสามารถเห็นเส้นกรอบของอะลูมิเนียมได้ทั้ง 4 ด้าน  แต่แบบธรรมดาเป็นรูปแบบดั้งเดิมเช่น อัมรินทร์พลาซ่า (ราชประสงค์) อาคารซิโนไทย (อโศก) ธนาคารกสิกรไทย สำนักงานใหญ่ (พหลโยธิน) เป็นต้น แบบ 2 -SIDED สามารถเห็นเส้นกรอบของอะลูมิเนียมได้เพียง 2 ด้านเท่านั้น ในระนาบใดระนาบหนึ่ง ในส่วนของเรื่องราคาจะมีราคาค่อนข้างสูงกว่าแบบธรรมดา อาคารบ้านโป่ง (ราชเทวี) เป็นต้น …ราคาแพงกว่าแบบแรก 10% – …

รู้หรือเปล่า Curtain Wall มีกี่อย่าง ? Read More »

บ้านไต้ดิน

ทำผนังห้องใต้ดิน ต้องก่อสร้างให้ถูกวิธี?

โดยปกติธรรมดางานผนังไม่ถือเป็นงานโครงสร้างแต่ถือเป็น เพียง งานสถาปัตยกรรม แต่ผนังห้องใต้ดิน เป็นทั้ง งานสถาปัตยกรรม และ งานโครงสร้าง ในที่เดียวกัน เพราะผนังห้องใต้ดินจะต้องทำหน้าที่แบ่งกั้นห้อง และทำหน้าที่รับน้ำหนักดินที่กดดันเข้ามา นอกจากนั้น ยังต้องทำหน้าที่ กันน้ำ และความชื้นจากน้ำใต้ดินอีกด้วย สิ่งพื้นฐานที่ต้องระมัดระวังคือ คอนกรีตที่ใช้จะต้องผสมน้ำยากันซึมเสมอ ทุกจุดที่จะหยุดเทคอนกรีตจะต้องมีการวางแผนการล่วงหน้า และใส่ Water Stop หรือแผ่นยางกันรั่วเพื่อป้องกันน้ำซึมเข้าทางรอยต่อคอนกรีตนั้น หากเป็นไปได้ปู Water Proofing Membrane หรือแผ่นยาง-แผ่นพลาสติกไว้ที่พื้น (และอาจรวมผนังด้วย)ไว้ด้านนอกด้วย อย่าเปลี่ยนแปลงแบบ (เช่นการหดหรือขยายห้องใต้ดิน) เมื่อมีการเริ่มลงมือก่อสร้างห้องใต้ดินไปแล้ว เพราะอาจเกิดการรั่วซึมในส่วนที่ต่อเติมได้ ขอให้คุณโชคดี อยากสร้างห้องใต้ดิน! ต้องคำนึงถึงอะไรก่อนเป็นลำดับแรก ? หากไม่อยากพบเจอกับปัญหาภายหลัง ก่อนตัดสินใจสร้างห้องใต้ดิน ควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการก่อสร้างที่เหมาะสมอย่างละเอียดเสียก่อน รวมถึงต้องคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้– ต้องสามารถรับแรงดันดินได้ รวมถึงต้องมีการก่อสร้างที่ถูกต้องได้มาจรฐาน พื้นต้องมีความหนากว่าพื้นทั่วไป เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหารั่วซึมภายหลัง– ต้องระบายอากาศได้ดี มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก ไม่มีปัญหาอับชื้น โดยสามารถติดตั้งพัดลมดูดอากาศ หรือช่องระบายอากาศ ก็ถือเป็นตัวช่วยที่ดีอย่างมาก– วัสดุที่ใช้สร้างห้องใต้ดินต้องมีคุณสมบัติที่ทนต่อความชื้นได้ดี– หากสร้างห้องใต้ดินที่ภายในบริเวณลักษณะชั้นเดียว น้ำหนักของตัวบ้านไม่มากพอที่จะถ่วงกับแรงลอยตัวจากน้ำใต้ดิน อาทำให้เกิดปัญหาตามมาภายหลัง สร้างห้องใต้ดินเหนือระดับ การสร้างห้องใต้ดินที่มีความลึกว่า …

ทำผนังห้องใต้ดิน ต้องก่อสร้างให้ถูกวิธี? Read More »

กระเบื้องระเบิด

คุณปัญหากระเบื้องระเบิดที่บ้านบ้างหรือเปล่า ?

เมื่อประมาณ 5 ปีที่แล้ว ใครที่อยู่ในวงการก่อสร้างหรือเจ้าของบ้านที่เพิ่งปูกระเบื้องพื้นไป อาจจะเจอปัญหา ว่ากระเบื้อง (ส่วนใหญ่ที่พื้น) จะปูดหรือระเบิดขึ้นมา มีทั้งระเบิดใหญ่ทั้งพื้น หรือระเบิดเป็นจุด ๆที่แผ่นกระเบื้อง (เป็นรอยดำ ๆ น่าเกลียด) ในปัจจุบันปัญหานี้ ก็ยังคงมีอยู่ แม้จะลดน้อยลงไป มากแล้วสาเหตุ ของกระเบื้องระเบิดนี้ มีหลายสาเหตุ ซึ่งน่าจะมาจาก ใต้พื้นชื้นแฉะระบบพื้นกันความชื้นไม่อยู่ ความชื้นทำให้กระเบื้องพองตัวดันกันจึงปูดขึ้นมา ปูกระเบื้องไม่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งปูนยาแนว น้ำจากด้านบนซึมลงไปใต้กระเบื้องได้ เกิดเหตุแบบ ประการแรก (ดาดฟ้าเกิดมาก เพราะมีอุณหภูมิเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย) พื้นหรือใต้พื้นหรือปูนปูกระเบื้องผสมผิดส่วน มีความเป็นกรดเป็นด่างสูงมาก ทำลายพื้น-ปูนฉาบ- กระเบื้อง (แบบนี้ไม่ค่อยระเบิดแต่จะล่อน) กระเบื้องเลว (ตอนนี้กระเบื้องรุ่นนั้น ??? คงหมดตลาดแล้ว) เลือกวัสดุปูพื้นอะไรดี วัสดุปูพื้นบ้านเราอาจแยกใหญ่ ๆ ได้เป็น 5 – 6 ประเภท วัสดุเหล่านี้แต่ละอย่าง จะมีจุดเด่น จุดด้อยต่างกัน และมักเป็นปัญหาไม่จบสิ้นสำหรับท่านเจ้าของบ้านว่าจะเลือกอะไรดี 1. พื้นไม้จริง เป็นของธรรมดาพื้นบ้านมานมนานกาเล แต่ปัจจุบัน …

คุณปัญหากระเบื้องระเบิดที่บ้านบ้างหรือเปล่า ? Read More »

สีลอก

สีลอก สีขึ้นรา สีวิบัติ เกิดเพราะใช้สีผิดยี่ห้อจริงหรือ ?

เชื่อหรือไม่ว่า 80% ของผนังที่สภาพสีเสียหายก่อนกำหนด เกิดจากการเตรียมพื้นผิวไว้ไม่ดี เช่น ไม่แห้งสนิท มีสภาพ เป็นกรด เป็นด่าง มีฝุ่นเกาะฯลฯ ดังนั้น ในการเลือกใช้สี จึงสมควร เน้นที่การ ควบคุมงาน ว่าการเตรียมพื้นผิว ก่อนทาสีนั้น ดีเพียงพอ ตลอดจนการควบคุม ให้ทาครบจำนวนครั้งตามที่บริษัทสีต้องการ (บางบริษัทไม่ได้นับ จำนวนครั้งที่ทาสี แต่วัดที่ความหนาของผิวสี) ไม่จำเป็นต้องซีเรียสที่ยี่ห้อของสี (แต่สีประเภทที่ทำเองหลังห้องแถว ก็ไม่น่าจะเสี่ยงใช้ เพราะอาจเป็นอีก 20% ที่เหลือซึ่งเป็นปัญหา การวิบัติของสีโดยสีจริง ๆ) สีลอกเป็นแผ่น เกิดจากอะไร แก้ไขยังไงให้หาย โดยส่วนใหญ่เเล้วปัญหาสีล่อนเป็นเเผ่น สามารถเกิดได้หลายบริเวณมาก เช่น บริเวณชายล่างของอาคาร ทั้งภายนอกเเละภายในบ้าน หรือ จะเป็นบริเวณฝ้า เป็นต้น เเต่จะเกิดขึ้นมากกับบริเวณที่เป็นชายล่างอาคาร เรามาดูสาเหตุเเละการเเก้ไขกันดีกว่า ความชื้น : ความชื้นเป็นสาเหตุหลักของการเกิดปัญหาสีลอกล่อนเป็นเเผ่นเลย เพราะสีน้ำทาอาคาร ที่เราใช้ทากันอยู่ทุกวันนี้ ไม่ถูกกับความชื้นเอาซะเลย โดยเฉพาะบริเวณชายล่างของผนังบ้านของเรา ที่มักจะมีความชื้นสะสมอยู่บริเวณที่พื้นอยูเสมอ เมื่อความชื้นเกิดการสะสมมากๆ ก็จะซึมเข้าสู่ผนังเเล้วไปดันฟิล์มสีที่ทาอยู่ให้พองลอกล่อนต่อไป วิธีการเเก้ไขนั้น ควรใช้ผลิตภัณฑ์สีที่สามารถทนชื้นสูงๆได้ หรือทาน้ำยาบล็อคความชื้น …

สีลอก สีขึ้นรา สีวิบัติ เกิดเพราะใช้สีผิดยี่ห้อจริงหรือ ? Read More »

ไฟฟ้าโรงงาน

ไฟบ้านกับไฟโรงงานแตกต่างกันไหม!!!

ไฟฟ้า คือ พลังงานที่มีความสำคัญต่อชีวิตของมนุษย์เป็นอย่างมาก เพราะเครื่องใช้ไฟฟ้าที่อำนวยความสะดวกให้กับเราทุกวันนี้ต่างก็ต้องพึ่งพากระแสไฟฟ้าทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นพัดลม, แอร์, โทรทัศน์ หรือแม้แต่ระบบรักษาความปลอดภัยในยุคนี้ก็เลือกที่จะใช้เป็นระบบไฟฟ้าเช่นกัน เมื่อชีวิตของเราต้องอยู่ใกล้กับไฟฟ้าถึงขนาดนี้ จึงควรศึกษาเรื่องราวที่น่าสนใจของไฟฟ้าไว้บ้าง ถ้าเกิดปัญหาเรื่องระบบไฟภายในบ้านจะได้รู้ว่าเกิดจากสาเหตุใด วันนี้ admin จึงขอนำความรู้เรื่องระบบไฟฟ้า 1เฟส กับ 3 เฟส  ที่ถูกใช้งานมากที่สุด ระบบไฟฟ้า 1 เฟส คือ ระบบไฟที่ใช้ภายในบ้านเรือน มีการจ่ายไฟที่เหมาะสมต่อเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน แต่ระบบไฟฟ้า 3 เฟส จะใช้กับงานด้านอุตสาหกรรมที่มีเครื่องจักรขนาดใหญ่ ต้องใช้ไฟฟ้าในปริมาณมาก และอาจจะมีการเชื่อมต่อไฟฟ้าเพื่อไปใช้ในอาคารต่างๆ บนพื้นที่เดียวกัน ซึ่งระบบไฟฟ้าทั้ง 2 แบบ มีความแตกต่างกันในเรื่องแรงดันไฟฟ้าที่เห็นชัด คือ ไฟบ้านแรงดันไฟฟ้า 1 เฟส ไฟฟ้า 1 เฟส จะให้แรงดันไฟฟ้าที่ 220-230 โวลท์ มีความถี่ที่ 50 Hz โดยจะมีสายไฟที่ประกอบอยู่ 2 สาย คือ สายไลน์ที่มีชื่อเรียกอีก 2 แบบ อย่างสายเฟสและสายไฟ …

ไฟบ้านกับไฟโรงงานแตกต่างกันไหม!!! Read More »