เสาเข็มไมโครไพล์ (ไมโครไพล์, micropile) คืออะไร
เสาเข็มไมโครไพล์ คือ เสาเข็มขนาดเล็กมีความยาวไม่มากนัก ส่วนมากจะยาวประมาณ 1.5 เมตร ถูกออกแบบมาเพื่อให้ทำงานในพื้นที่จำกัด เสาเข็มไมโครไพล์และเครื่องตอกเสาเข็มไมโครไพล์จึงถูกออกแบบมาให้มีขนาดเล็ก กระทัดรัด สามารถถอดออกเป็นชิ้นๆ เพื่อสะดวกต่อการขนส่งเข้าไปประกอบที่หน้างาน ซึ่งทางเข้าคับแคบได้ ทำให้เสาเข็มชนิดนี้เหมาะแก่การทำงานต่อเติมเป็นอย่างมาก ข้อดีของเสาเข็มไมโครไพล์ก็คือ ตัวเครื่องตอกเสาเข็มไมโครไพล์มีขนาดเล็กความสูงไม่เกิน 3 เมตร ลูกตุ้มที่ใช้ตอกส่วนมากจะหนักประมาณ 1.2 – 1.5 ตัน ทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือนในเวลาตอกน้อยมาก และเสียงรบกวนน้อยมาก หน้างานไม่สกปรกเลอะเทอะไม่มีดินโคลน สามารถตอกได้ลึกตามจริง สามารถรับน้ำหนักตามที่วิศวกรคำนวณไว้ได้ ฯลฯ เสาเข็มไมโครไพล์ มีข้อเสียอยู่ 2 อย่างคือ 1.มีรอยต่อเยอะ ถ้าเสาเข็มประกบกันไม่ดีมีช่องว่างหรือทำการเชื่อมไม่ดีเชื่อมไม่เต็มรอบวงอาจทำให้เสาเข็มหลุดออกจากกันทำให้เสาเข็มต้นนั้นไม่สามารถรับน้ำหนักได้ ข้อ 2.คือราคาสูง และในประเทศไทยเสาเข็มไมโครไพล์จะมีด้วยกัน 3 แบบหลัก คือ
1. เสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กแบบแรงเหวี่ยง หรือเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (spun micropile) มีลักษณะเป็นรูปทรงกระบอกตรงกลางกลวง ยาวท่อนละ 1.5 เมตร ทำการผลิตโดยใช้วิธีเทคอนกรีตลงในแบบแล้วนำแบบเข้าเครื่องปั่นแรงเหวี่ยง เพื่อให้คอนกรีตหุ้มโครงเหล็กเสริมทำให้เนื้อคอนกรีตมีความหนาแน่นสูงกว่าเสาเข็มชนิดอื่นๆ
2. เสาเข็มไมโครไพล์รูปตัวไอ (i micropile) มีรูปหน้าตัดเป็นรูปตัวไอ (I) ยาวท่อนละ 1.5 เมตร ผลิตโดยการเทคอนกรีตลงในแบบแล้วใช้เครื่องจี้คอนกรีต (วายจี้คอนกรีต) เพื่อเสริมความหนาแน่นของเนื้อคอนกรีต
3. เสาเข็มไมโครไพล์ทรงสี่เหลี่ยม (square micropile) มีรูปหน้าตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมตัน ยาวท่อนละ 1.5 เมตร ผลิตโดยการเทคอนกรีตลงในแบบแล้วใช้เครื่องจี้คอนกรีต (วายจี้คอนกรีต) เพื่อเสริมความหนาแน่นของเนื้อคอนกรีต
เสาเข็มไมโครไพล์ (micropile) นี้จะใช้วิธีการตอกแบบพิเศษ โดยใช้ปั้นจั่นขนาดเล็กตอกลงไปและใช้วิธีการต่อเสาเข็มโดยการเชื่อมไฟฟ้าเชื่อมต่อกันไปเรื่อยๆ จนตอกไม่ลง แล้วใช้การคำนวณการรับน้ำหนักของเสาเข็ม จากขนาดหน้าตัดของเสาเข็ม ระยะยกลูกตุ้ม น้ำหนักของลูกตุ้ม ความลึกของเสาเข็มและ Blowcount มาคำนวณโดยส่วนใหญ่แล้ววิศวกรจะใช้สูตรการคำนวณแบบ Danish’s Formular ขนาดของลูกตุ้ม (Hammer) ที่ใช้ตอกเสาเข็มไมโครไพล์มีน้ำหนักไม่มาก ประมาณ 1.2 ตัน ขึ้นไป ทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือนน้อยกว่าเข็มตอกประเภทอื่น สามารถเข้าไปตอกได้ทุกสภาพพื้นที่ เหมาะกับพื้นที่คับแคบหรือมีความสูงไม่มาก เริ่มต้นที่ 2.5 เมตรขึ้นไป ตอกชิดกระจก ผนัง ไม่ทำให้โครงสร้างเดิมเสียหาย สะอาดไม่ต้องขนดินทิ้ง
บริษัท ณรงค์ ไมโครสปัน จำกัด
Micro Spun Pile Specification Comparison
ตารางเปรียบเทียบการรับน้ำหนักของเสาเข็มสปันไมโครไพล์
เสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Spun micropile) หรือ “เสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กหล่อสำเร็จแบบแรงเหวี่ยง” มีลักษณะเป็นเสาเข็มกลม ตรงกลางกลวง มีโครงลวดเหล็กฝังอยู่ในเนื้อคอนกรีตโดยรอบ ผลิตโดยใช้กรรมวิธีการปั่นคอนกรีตในแบบหล่อซึ่งหมุนด้วยความเร็วสูงทำให้เนื้อคอนกรีตมีความหนาแน่นสูงกว่าคอนกรีตที่หล่อโดยวิธีธรรมดา จึงมีความแข็งแกร่งสูงกว่าเสาเข็มประเภทอื่นๆ และสามารถรับน้ำหนักได้มากกว่าเมื่อเทียบกับขนาดหน้าตัดที่เท่ากัน
ได้รับมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เลขที่ 397-2562 กดดูข้อมูล
การตอกเสาชนิดนี้สามารถทำได้หลายแบบ ทั้งวิธีการตอกด้วยปั้นจั่นแบบธรรมดา และวิธีการตอกด้วยระบบเจาะกด เสาเข็มสปันไมโครไพล์มีให้เลือกใช้หลายขนาด เสาเข็มสปันไมโครไพล์ที่บริษัท ณรงค์ ไมโครสปัน จำกัด ผลิตนั้นมีตั้งแต่ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 20 – 30 เซนติเมตร มีความหนาของเนื้อคอนกรีตอยู่ในช่วง 6 – 10 เซนติเมตร โดยมีความยาวอยู่ในช่วง 1.5 เมตรต่อท่อน ซึ่งความยาวนี้สามารถเพิ่มได้โดยการนำเสามาเชื่อมต่อกัน เนื่องจากเสาเข็มสปันมีลักษณะกลวงจึงช่วยลดการสั่นสะเทือนเวลาตอก และถ้าเสาเข็มที่ใช้ความยาวมากก็สามารถลดแรงดันของดินในขณะตอกได้โดยการเจาะนำและลำเลียงดินขึ้นทางรูกลวงของเสา ซึ่งจะช่วยลดความกระทบกระเทือนที่มีต่ออาคารข้างเคียงได้มาก เสาชนิดนี้เหมาะสำหรับงานต่อเติมบ้าน โรงงาน,งานพื้นที่จำกัด, งานเสริมฐานรากตัวอาคาร, งานโรงงานที่ต้องการความเร็วในการตอกและความสะอาดของหน้างาน, งานตอกรับแท่นเครื่องจักร, งานเสริมการรับน้ำหนักของพื้นต่อตารางเมตร.
ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 200 มิลลิเมตร
เส้นผ่านศูนย์กลาง | 20 cm. |
น้ำหนักปลอดภัย | 30 –40Ton |
Factor Of Safety | 2.5 |
ระยะทรุดตัวของเสาเข็ม 10 ครั้งสุดท้าย(ที่สามารถทำได้) | 1-3 มิลลิเมตร |
ความยาวต่อท่อน | 1.5 เมตร |
ความหนาของเนื้อคอนกรีต | > 5.5 cm. |
ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 250 มิลลิเมตร
เส้นผ่านศูนย์กลาง | 25 cm. |
น้ำหนักปลอดภัย | 30 –40Ton |
Factor Of Safety | 2.5 |
ระยะทรุดตัวของเสาเข็ม 10 ครั้งสุดท้าย(ที่สามารถทำได้) | 1-3 มิลลิเมตร |
ความยาวต่อท่อน | 1.5 เมตร |
ความหนาของเนื้อคอนกรีต | > 5.5 cm. |
ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 300 มิลลิเมตร
เส้นผ่านศูนย์กลาง | 30 cm. |
น้ำหนักปลอดภัย | 30 –40Ton |
Factor Of Safety | 2.5 |
ระยะทรุดตัวของเสาเข็ม 10 ครั้งสุดท้าย(ที่สามารถทำได้) | 1-3 มิลลิเมตร |
ความยาวต่อท่อน | 1.5 เมตร |
ความหนาของเนื้อคอนกรีต | > 5.5 cm. |
SPUN MICROPILE DIAMETER 350 mm.
เส้นผ่านศูนย์กลาง | 35 cm. |
น้ำหนักปลอดภัย | 55 – 60 ตัน |
Factor Of Safety | 2.5 |
ระยะทรุดตัวของเสาเข็ม 10 ครั้งสุดท้าย | 1-3 mm. |
ขนาดเหล็ก Dowel Bar | 9 mm. |
จำนวนเหล็ก Dowel Bar | 10 เส้น |
ขนาดเหล็ก Spiral | 6 mm. |
ความหนาของเนื้อคอนกรีต | > 6.5 cm. |
ความยาวต่อท่อน | 1.5 m. |
SPUN MICROPILE DIAMETER 400 mm.
เส้นผ่านศูนย์กลาง | 40 cm. |
น้ำหนักปลอดภัย | 65 – 70 ตัน |
Factor Of Safety | 2.5 |
ระยะทรุดตัวของเสาเข็ม 10 ครั้งสุดท้าย | 1-3 mm. |
ขนาดเหล็ก Dowel Bar | 9 mm. |
จำนวนเหล็ก Dowel Bar | 10 เส้น |
ขนาดเหล็ก Spiral | 6 mm. |
ความหนาของเนื้อคอนกรีต | > 7 cm. |
ความยาวต่อท่อน | 1.5 m. |
I Micro Pile Specification Comparison
ตารางเปรียบเทียบการรับน้ำหนักของเสาเข็มไอไมโครไพล์
เสาเข็มไอไมโครไพล์ (i micropile)
เสาเข็มหน้าตัดรูปตัวไอ เป็นผลิตภัณฑ์คอนกรีตสำเร็จรูป ประเภทเสาเข็มตัวไอ ผลิตจากคอนกรีตอัดแรงเสริมด้วยโครงลวดเหล็ก Db9 mm. ข้อดีของเสาเข็มหน้าตัดตัวไออยู่ที่เส้นรอบรูปที่มากกว่าเสาเข็มเหลี่ยม ส่งผลให้เกิดแรงเสียดทานระหว่างผิวเสาเข็ม (Skin Friction) และดินได้มากกว่า จึงทำให้มีความสามารถในการรับน้ำหนักที่มากขึ้น หากติดตั้งในบริเวณที่เป็นชั้นดินตะกอน หรือดินเหนียว จึงนิยมใช้ในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล รวมถึงราคาที่ถูกกว่าและน้ำหนักที่น้อยกว่าเสาเข็มหน้าตัดสี่เหลี่ยม
ไมโครไพล์ i18x18 cm.
พื้นที่หน้าตัด Cross Section | 274.5 cm2 |
เส้นรอบรูป Perimeter | 89 cm. |
Dowel Bar | 4 – RB 9mm. |
เหล็กปลอก (Stirrup) | 10 – RB 6mm. |
Safe Load | 18 – 25 ton |
Factor Of Safety | 2.5 |
ความยาว/ท่อน | 1.5 m. |
น้ำหนัก Weight/ท่อน | 115 Kg. |
ไมโครไพล์ i22x22 cm.
พื้นที่หน้าตัด Cross Section | 386 cm2 |
เส้นรอบรูป Perimeter | 109 cm. |
Dowel Bar | 6 – RB 9mm. |
เหล็กปลอก (Stirrup) | 10 – RB 6mm. |
Safe Load | 25 – 30 ton |
Factor Of Safety | 2.5 |
ความยาว/ท่อน | 1.5 m. |
น้ำหนัก Weight/ท่อน | – Kg. |
ไมโครไพล์ i26x26 cm.
พื้นที่หน้าตัด Cross Section | 489cm2 |
เส้นรอบรูป Perimeter | 131 cm. |
Dowel Bar | 6 – RB 9mm. |
เหล็กปลอก (Stirrup) | 10 – RB 6mm. |
Safe Load | 30 – 35 ton |
Factor Of Safety | 2.5 |
ความยาว/ท่อน | 1.5 m. |
น้ำหนัก Weight/ท่อน | – Kg. |
ไมโครไพล์ i30x30 cm.
พื้นที่หน้าตัด Cross Section | 660 cm2 |
เส้นรอบรูป Perimeter | 150 cm. |
Dowel Bar | 6 – RB 9mm. |
เหล็กปลอก (Stirrup) | 10 – RB 6mm. |
Safe Load | 35 – 40 ton |
Factor Of Safety | 2.5 |
ความยาว/ท่อน | 1.5 m. |
น้ำหนัก Weight/ท่อน | – Kg. |
เสาเข็มสแควร์ไมโครไพล์ (Square micropile)
หรือเสาเข็มหน้าตัดสี่เหลี่ยมตัน (หรือเสาเข็มเหลี่ยม)ผลิตจากคอนกรีต อัดแรงเสริมด้วยโครงลวดเหล็ก DB9 mm. มีความแข็งแรงทนทานเป็นพิเศษ เนื่องจากสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้มาก มีขนาดหน้าตัด และความยาวให้เลือกตามความต้องการ ส่วนความแข็งแรงมีความทนทานกว่า หากต้องติดตั้งในพื้นที่ที่มีการตอกจำนวนครั้งมากก่อนถึงระดับที่ต้องการ ซึ่งช่วยลดโอกาสเกิดความเสียหายลงได้ เสาเข็มเหลี่ยมจึงถูกนำไปใช้ในโครงการขนาดกลางถึงใหญ่
ขนาดหน้าตัดกว้างxยาว 22×22 cm. ความยาว/ท่อน 1.5 เมตร มีความสามารถรับน้ำหนักปลอดภัย 20-25 Ton/Pile โดยมีเหล็กปลอกรัดหัวท้าย เสาเข็มสปันไมโครไพล์สามารถเพิ่มต่อความยาว (ความลึก) ของเสาเข็ม square micro pile ได้ โดยการเชื่อมต่อเสาเข็ม square micro pile โดยวิธีการเชื่อมรอบเสาเข็มไมโครไพล์ เพื่อเพิ่มความลึกได้ตามต้องการ จนกระทั่งถึงชั้นดินดาน สามารถตรวจสอบกำลังการรับน้ำหนักปลอดภัย ด้วยวิธีการ Last 10 Blow Count หรือ ทดสอบด้วยวิธี Dynamic Load Test
รายละเอียดของเสาเข็มสแควร์ไมโครไพล์
- ค่ากำลังอัดคอนกรีต 350 Cylinder (ทรงกระบอก) 400 Cube ทรงลูกบาศก์ ตามข้อกำหนด มอก. 397-2524
- Spiral มาตรฐานเหล็ก มอก. ขนาด 6 mm. ยาว 10 เมตร จำนวน 1 เส้น
- Dowel มาตรฐานเหล็ก มอก. ขนาด 9 mm. จำนวน 8 เส้น
สามารถสั่งผลิต Dowel ตามขนาดเหล็กที่ลูกค้าต้องการได้
เครื่องตอกเสาเข็ม (Piling Machine) ชนิด : ไมโครไพล์และเข็มไมโครสปันไพล์
- หน้ากว้าง 1.2 เมตร
- ยาว 4.5 เมตร
- สูง 3 เมตร
- ตุ้มหนัก 1.2 -1.5 ตัน
- ระบบขับเคลื่อน วินซ์และรอก
- เครื่องยนต์ yanmar diesel 15 hp
- หน้ากว้าง 1.8 เมตร
- ยาว 4.5 เมตร
- สูง 3.5 เมตร
- ตุ้มหนัก 1.4 -1.5 ตัน
- ระบบขับเคลื่อน ไฮดรอลิคล้อยาง
- เครื่องยนต์ yanmar diesel 15 hp
รีวิวงานต่อเติมบ้าน อาคารสำนักงาน โรงงาน
VIDEO UPATE
spun micropile ต่อเติมโรงงานที่นิคมอมตะซิตี้ ระยอง
สร้างอพาทเม้นท์ 5 ชั้น ด้วยเสาเข็มไมโครไพล์
เสาเข็มสปันไมโครไพล์ dia.25 cm. @Nichias thailand
ต่อเติมบ้านอาศัย ด้วยเสาเข็มไมโครไพล์
ต่อเติมโรงงานด้วยเสาเข็ม spun micro pile Dia.30 cm.
โรงงานชายสี่บะหมี่เกี๊ยวกับเสาเข็มไมโครไพล์ i18x18
รวมบทความที่น่าสนใจ
สัญลักษณ์ที่ปรากฎในแบบสถาปัตยกรรมบ้าน
โดยเบื้องต้นแบบก่อสร้างที่ถูกต้องจะต้องมีรายชื่อ เลขประจำตัว และลายเซ็นของสถาปนิกและวิศวกร และมีใบอนุญาตก่อสร้างจากหน่วยงานราชการ ซึ่งมีอายุ 1 ปี จึงควรให้ผู้รับเหมาต่ออายุใบอนุญาตก่อนหมดอายุเสมอ โดยแต่ละบริษัทอาจมีการใช้ฟอร์มของแบบก่อสร้างแตกต่างกัน แต่มีหัวข้อสำคัญที่ควรมี คือ รูปแบบการก่อสร้าง, สถานที่ก่อสร้าง, เจ้าของ, สถาปนิก,…
การเตรียมงานก่อสร้าง
การก่อสร้างอาคาร คืองานก่อสร้างที่ระบุในแบบก่อสร้างอาคาร และรายการประกอบ แบบเอกสารแนบสัญญา รวมทั้งงานประกอบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างอาคาร การทางานจึงต้องมีลำดับขั้นในการปฏิบัติงาน เพื่อให้ประหยัดค่าใช้จ่าย ลดเวลาการทำงาน เกิดผลงานที่ดี มีคุณภาพงานก่อสร้างเสร็จตรงตามเวลาที่กำหนด การเตรียมสถานที่ก่อสร้างอาคาร และการศึกษาแบบก่อสร้างอาคารรายการประกอบแบบ เอกสารแนบสัญญา เพื่อเตรียมขั้นตอนการก่อสร้างอาคารและการจัด…
Shop Drawing คืออะไร
Shop Drawing คือแบบที่เขียนขึ้นมาเพื่อใช้ทำงานจริง ๆ ณ สถานที่ก่อสร้าง เพราะโดยปกติ แบบที่เขียน จากบรรดาสถาปนิก-วิ ศวกร จะแยกส่วนออกจากกัน ทั้งที่การก่อสร้าง จะต้องสัมพันธ์กันเกี่ยวข้องกัน เชื่อมต่อกัน เช่น…
ประเภทและลักษณะของประตูหน้าต่างอลูมิเนียม
“ประตู หน้าต่าง” นับเป็นองค์ประกอบสำคัญของบ้าน ที่หลายคนมองข้ามหรือไม่ได้ตรวจรายละเอียดให้ดี เพราะไม่เพียงทำหน้าที่เป็นทางเข้า-ออก รับแสงธรรมชาติ หรือเปิดรับลมเข้าสู่ตัวบ้าน แต่ยังช่วยเพิ่มความสะดวกสบาย ความปลอดภัย เสริมสร้างสุขอนามัยที่ดีต่อผู้อยู่อาศัย การเลือกใช้ประตู-หน้าต่างอลูมิเนียม ข้อควรคำนึงอันดับแรกคือยี่ห้อเส้นอลูมิเนียมที่ได้มาตรฐาน เพราะประตู-หน้าต่างอลูมิเนียมทั่วไปมักจะมีสารก่อมะเร็งตกค้างอยู่ หรือส่วนผสมของเนื้ออลูมิเนียมไม่ได้คุณภาพ และเป็นสิ่งที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า…
รู้หรือเปล่า Curtain Wall มีกี่อย่าง ?
อาคารสำนักงานใหม่ ๆ ในยุคนี้ นิยมใช้ผนังกระจกกันมาก เพราะก่อสร้างง่าย และดูเหมือนว่า จะสวยงามดี ผนังกระจกนี้ จะแนบติดกับ โครงสร้างของพื้น (หรือคาน) ไม่วางอยู่บนพื้น แบบช่องเปิดเดิมๆ ทั่วไป ผนังกระจกนี้…
ทำผนังห้องใต้ดิน ต้องก่อสร้างให้ถูกวิธี?
โดยปกติธรรมดางานผนังไม่ถือเป็นงานโครงสร้างแต่ถือเป็น เพียง งานสถาปัตยกรรม แต่ผนังห้องใต้ดิน เป็นทั้ง งานสถาปัตยกรรม และ งานโครงสร้าง ในที่เดียวกัน เพราะผนังห้องใต้ดินจะต้องทำหน้าที่แบ่งกั้นห้อง และทำหน้าที่รับน้ำหนักดินที่กดดันเข้ามา นอกจากนั้น ยังต้องทำหน้าที่ กันน้ำ และความชื้นจากน้ำใต้ดินอีกด้วย…
คุณปัญหากระเบื้องระเบิดที่บ้านบ้างหรือเปล่า ?
เมื่อประมาณ 5 ปีที่แล้ว ใครที่อยู่ในวงการก่อสร้างหรือเจ้าของบ้านที่เพิ่งปูกระเบื้องพื้นไป อาจจะเจอปัญหา ว่ากระเบื้อง (ส่วนใหญ่ที่พื้น) จะปูดหรือระเบิดขึ้นมา มีทั้งระเบิดใหญ่ทั้งพื้น หรือระเบิดเป็นจุด ๆที่แผ่นกระเบื้อง (เป็นรอยดำ ๆ น่าเกลียด) ในปัจจุบันปัญหานี้…
สีลอก สีขึ้นรา สีวิบัติ เกิดเพราะใช้สีผิดยี่ห้อจริงหรือ ?
เชื่อหรือไม่ว่า 80% ของผนังที่สภาพสีเสียหายก่อนกำหนด เกิดจากการเตรียมพื้นผิวไว้ไม่ดี เช่น ไม่แห้งสนิท มีสภาพ เป็นกรด เป็นด่าง มีฝุ่นเกาะฯลฯ ดังนั้น ในการเลือกใช้สี จึงสมควร เน้นที่การ ควบคุมงาน…