August 2022

micropile-MUIC

มหาวิทยาลัยมหิดล | spun micro pile | ไมโครไพล์ | เสาเข็มไมโครไพล์

โครงการก่อสร้าง : ปรับปรุงอาคารศูนย์วิจัยและพัฒนาวัคซีน สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา จังหวัดนครปฐม ผู้รับเหมา : บริษัท โทเทิล ควอลิตี้ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด โดยมีรายละเอียดเป็นเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Spun micropile) ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 20 เซนติเมตร Design Load อยู่ที่ 35 ตัน/ต้น ทำการตอกเสาเข็มจนไม่ลงแล้วเช็ค BlowCount ตามรายการคำนวณของวิศวกรทุกต้น สถานะ : ส่งมอบงานตอกเสาเข็มเป็นที่เรียบร้อยแล้ว มาชมบรรยากาศขณะตอกเสาเข็มกันครับ หาข้อมูลเพิ่มเติมหรือติดต่อปรึกษางานก็สามารถติดต่อได้ทาง www.nmp.co.th www.narongmicropile.com Tel : 02-159-8480 และ Mobile : 091-309-7695

มหาวิทยาลัยมหิดล | spun micro pile | ไมโครไพล์ | เสาเข็มไมโครไพล์ Read More »

โรงพยาบาลพริ้นซ์ จ.อุทัย | spun micro pile | ไมโครไพล์ | เสาเข็มไมโครไพล์

เป็นงานตอกเสาเข็มเพื่อต่อเติมโครงสร้างอาคารและรับ Rack ไฟฟ้า เพิ่มเติม งานนี้มากับ Ritta Co.,Ltd. เจ้าประจำครับ รายละเอียดเป็นเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Spun micropile) ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 25 เซนติเมตร Design Load อยู่ที่ 35 ตัน/ต้น มาชมบรรยากาศขณะตอกเสาเข็มกันครับ หาข้อมูลเพิ่มเติมหรือติดต่อปรึกษางานก็สามารถติดต่อได้ทาง www.nmp.co.th www.narongmicropile.com Tel : 02-159-8480 และ Mobile : 091-309-7695

โรงพยาบาลพริ้นซ์ จ.อุทัย | spun micro pile | ไมโครไพล์ | เสาเข็มไมโครไพล์ Read More »

micropile-yonex

Yonex Tecniflbre ชลบุรี | spun micro pile | ไมโครไพล์ | เสาเข็มไมโครไพล์

เป็นงานตอกเสาเข็มเพื่อปรับปรุงบ่อบำบัดน้ำเสีย โดยใช้เสาเข็มสปันไมโครไพล์ (spun micropile) ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 25 เซนติเมตร รับน้ำหนักปลอดภัยไม่น้อยกว่า 35 ตัน/ต้น จำนวน 6 ต้น ที่Yonex Tecniflbre จังหวัดชลบุรี มาชมบรรยากาศขณะตอกเสาเข็มกันครับ

Yonex Tecniflbre ชลบุรี | spun micro pile | ไมโครไพล์ | เสาเข็มไมโครไพล์ Read More »

ปลวกกินไม้

ไม้ที่ปลวกไม่กินและนิยมใช้ในการก่อสร้าง

ปลวกกับไม้ คือ ปัญหาสำคัญของงานบ้าน บ้านที่มีส่วนประกอบของไม้เป็นหลัก มักเจอกับปัญหาปลวกกินไม้ สร้างปัญหาทางด้านโครงสร้าง จนแทบทำให้บ้านทั้งหลังพัง การมองหา ไม้ที่ปลวกไม่กิน เป็นหนึ่งทางเลือกสำหรับคนรักบ้านโครงสร้างไม้ แต่การดูแลรักษายังคงต้องอาศัยเทคนิคการดูแลไม้ควบคู่กันไป บทความนี้เราจะมาทำความรู้จักกับ ไม้กันปลวกว่าคืออะไร กันปลวกได้จริงหรือไม่ และ มีไม้ชนิดไหนบ้างที่เราสามารถนำมาใช้ได้ ไม้กันปลวกคืออะไร สำหรับการสร้างบ้านด้วยไม้ ไม่ว่าเป็นการสร้างทั้งหลังหรือในส่วนโครงสร้าง ข้อแนะนำในการเลือกใช้ ไม้ที่ปลวกไม่กิน เป็นทางเลือกหลักของคนรักงานไม้ นิยามของ ไม้กันปลวก คือ ไม้ที่ปลวกไม่นิยมใช้กินเป็นอาหาร ด้วยความแข็งของเนื้อไม้ อาทิ ไม้ตะเคียน ไม้มะค่า  หรือสารเคมีเฉพาะตัวบางอย่างที่ทำให้ปลวกไม่ขึ้น ไม่กัดกินไม้เหล่านี้  อาทิ ไม้สัก ไม้สะเดา เป็นต้น ซึ่งไม้กันปลวกเหล่านี้ ได้รับความนิยมในการนำมาใช้ก่อสร้างงานไม้ทั้งสิ้น แต่ในความเป็นจริง ไม้เหล่านี้ ไม่ถูกปลวกกินเลยหรือ แท้จริงแล้ว ปลวกยังคงสามารถกินเนื้อไม้เหล่านั้นได้อยู่ เพียงแต่ระยะเวลาในการกิน และย่อยเนื้อไม้ ต้องใช้เวลานานกว่า จนทำให้ดูเหมือนปลวกไม่กินไม้เหล่านี้ อีกทั้ง ในการใช้งานไม้ มีการอาบน้ำยากันปลวกไว้ด้วย ยิ่งทำให้ดูเหมือนปลวกไม่กินไม้เหล่านี้จริง ๆ อีกหนึ่งทางเลือกที่ได้รับความนิยม คือ การใช้ไม้ปลอมในการตกแต่งบ้านแทน ไม้ปลอมกันปลวกได้จริงหรือไม่ เนื่องจากคุณสมบัติหลักของไม้ปลอม คือ

ไม้ที่ปลวกไม่กินและนิยมใช้ในการก่อสร้าง Read More »

รอยแตกร้าวแบบใด ซ่อมได้ ไม่น่าเป็นห่วง?

รอยแตกร้าว ถือเป็นปัญหาที่สร้างความกังวลใจให้กับเจ้าของบ้านไม่ใช่น้อย อีกทั้งยังต้องมานั่งลุ้นว่าบ้านจะทรุดตัว เอียง หรือ ถล่มลงมาไหม เนื่องจากรอยแตกร้าวบางประเภท ก็สร้างปัญหาใหญ่ให้บ้าน แต่บางประเภทก็เป็นเพียงสัญญาณบอกเล็กๆ น้อยๆ แต่ไม่ถึงกับสร้างปัญหาต่อโครงสร้างบ้านแต่อย่างใด โดยรอยร้าวชนิดต่างๆที่เกิดขึ้นภายในบ้าน หรือ อาคาร จะมีอยู่หลายประเภท ซึ่งปัญหารอยเหล่านี้เรียกได้ว่าเป็นปัญหาที่อาจเกิดจาก ผนังโครงสร้าง การเลือกใช้วัสดุ และผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้คุณภาพ รวมถึงการก่อสร้างจากช่างที่ไม่มีฝีมือ รอยแตกร้าวเกิดขึ้นภายในบ้านเรือน หรือ อาคาร เป็นเรื่องปกติที่มักพบเห็น ไม่ว่าจะเป็นบ้านหลังใหม่ หลังเก่า ก็ต้องพบรอยร้าวเป็นเรื่องธรรมดา แต่! รอยร้าวประเภทไหนที่ไม่ส่งผลต่อโครงสร้างบ้าน และไม่สร้างความอันตราย ดังนี้ รอยร้าวเฉียงที่ผนังมุมด้านซ้ายไปมุมขวา รอยแตกร้าวชนิดนี้ แสดงว่าโครงสร้างมีการบิดตัว โดยเกิดจากเสาของบ้านที่มีการทรุดตัวแตกต่างกัน และคานที่รัดเสามีการพยุงเสาเอาไว้ให้อยู่ระนาบเดียวกันไม่ได้ ทำให้เกิดการทรุดตัว และเป็นรอยร้าวจากผนังมุมล่างซ้ายไปมุมบนขวา รอยแตกร้าวชนิดนี้ไม่อันตรายมากนัก หากรอยแตกร้าวมีเพียงขนาดเท่าเดิม และไม่มีการขยายตัว แต่ในกรณีที่รอยแตกร้าวมีการขยายตัว และเพิ่มขึ้น ซึ่งนั่นอาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าถึงขั้นอันตรายควรปรึกษาสถาปนิก ทำการซ่อมแซมโดยด่วน รอยร้าวแตกลายงาตามผนังก่ออิฐฉาบปูน รอยแตกร้าวรายงานประเภทนี้ ต้นเหตุมาจากการแตกลายงาบนผนังที่ปูนฉาบแห้งเร็วเกินไป และมีการฉาบที่ไม่ได้มาตรฐาน หรือ การใช้ปูนที่มีการบ่มไม่ดีมาฉาบ อาจทำให้เกิดรอยร้าว แตกลายงาตามผนังได้ รอยร้าวชนิดนี้ไม่ส่งผลต่อโครงสร้างเพียงแต่ต้องฉาบปิดรอยร้าว เพื่อความสวยงาม รอยร้าวบริเวณรอยต่อผนังกับโครงสร้างเสา และคาน

รอยแตกร้าวแบบใด ซ่อมได้ ไม่น่าเป็นห่วง? Read More »

โครงสร้างบ้าน

ปัญหาที่ต้องระวังของโครงสร้างบ้าน ก่อนที่จะเป็นเรื่องใหญ่

โครงสร้างบ้าน คือจุดที่สำคัญที่จะประกอบขึ้นมาเป็นตัวบ้านได้ เป็นส่วนที่ต้องรับน้ำหนักของตัวบ้านเอาไว้ทั้งหมด หากมีส่วนใดที่ชำรุด เสียหายขึ้นมา อาจเกิดความเสียหายขึ้นกับบ้านทั้งหลังได้ เช่น บ้านทรุด บ้านเอียง บ้านยุบตัว หรือถึงขั้นถล่มลงมาทั้งหลังเลย ซึ่งความเสียหายนี้อาจจะเกิดขึ้นระหว่างการก่อสร้าง หรือว่าเสียหายตอนที่อยู่อาศัยแล้วก็ได้ เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สิน จึงต้องตรวจเช็ค สังเกตถึงความผิดปกติของโครงสร้างเอาไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ 1. เสาเข็ม  ถือเป็นส่วนแรกสุดของการสร้างบ้านเลย  ถ้าสร้างไม่ดีเริ่มจากจุดนี้ก็พลอยทำให้ทุกส่วนมีปัญหาได้เช่นกัน โดยหลักแล้วเสาเข็มจะรับน้ำหนักของตัวอาคารลงสู่ดิน ดังนั้นเสาเข็มต้องแข็งแรงตอกลงดินไปลึกพอให้รับน้ำหนักของอาคารและหลังคาได้ ไม่ชำรุดหรือมีความเอนเอียง เสาเข็มที่ใช้กับการสร้างบ้านจะมีสองแบบคือ  เสาเข็มคอนกรีตระบบตอก มักใช้กับโครงสร้างบ้าน หรืออาคารทั่วไป การเลือกความยาวของเข็มที่ตอกขึ้นอยู่กับลักษณะของหน้าดินว่าเป็นแบบไหนมีความแข็งสักเท่าไหร่ บ้านในเขตกรุงเทพจำเป็นต้องมีการตอกเสาเข็มและมักใช้ความยาวอยู่ที่ 20 เมตร ส่วนขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของเข็มขึ้นอยู่กับการคำนวณของวิศวกร  เสาเข็มเจาะ การทำเสาแบบนี้จะมีการเจาะดินลงไปก่อน เส้นผ่านศูนย์กลางของเข็มขึ้นอยู่กับการคำนวณของวิศวกร แล้วจึงเทคอนกรีตลงในรูที่เจาะเอาไว้ มักใช้กับบริเวณที่ไม่สามารถขนส่งเสาไปในที่ก่อสร้างได้ หรือไม่สามารถทำการตอกเสาเข็มได้ เพราะแรงสั่นสะเทือนอาจสร้างความเสียหายให้กับอาคารข้างเคียงได้ การทำเสาเข็มแบบเจาะจึงมีราคาสูงกว่าแบบตอกประมาณ 3 เท่า 2. พื้น  คือส่วนที่เราต้องสัมผัสอยู่ตลอดเวลาจึงนับว่าสำคัญมาก ต้องสร้างให้ดีเพื่อที่จะได้ใช้ชีวิตได้อย่างสะดวกสบาย ถ้าพื้นมีระดับไม่เท่ากันไม่ราบเรียบย่อมสร้างปัญหาตอนอยู่อาศัยแน่ ๆ ให้บอกช่างทำการแก้ไขทันที พื้นที่สร้างบ้านจะมีสองแบบคือ พื้นคอนกรีตแบบหล่อเป็นพื้นแบบที่ต้องทำขึ้นมาเอง มักจะใช้กับพื้นที่ที่มีน้ำหนักมาก มีข้อจำกัดอย่างต้องวางท่อ เว้นช่องบันได เป็นต้น การหล่อจะสามารถทำให้เรากำหนดรูปร่างของพื้นได้ตามแบบที่ต้องการ  พื้นคอนกรีตสำเร็จรูป มีให้เลือกใช้ทั้งแบบท้องเรียบและแบบลูกฟูก จะต้องนำมาวางบนคานก่อนจะวางตะแกรงเหล็กกันร้าว

ปัญหาที่ต้องระวังของโครงสร้างบ้าน ก่อนที่จะเป็นเรื่องใหญ่ Read More »

ตั้งเสาเอก

พิธีการตั้งเสาเอก

พิธีการตั้งเสาเอก เวลาเริ่มการก่อสร้างสำหรับบ้าน หรืออาคาร บางหลัง พิธีการต่างๆตามความเชื่อ มีความสำคัญมากเลยทีเดียว มีหลายแบบ หลายพิธีมากมีทั้ง พิธีลงเข็ม(เข็มเอก), วางศิลาฤกษ์, ตั้งเสาเอก, ไหว้บอกกล่าวเจ้าที่, ไหว้เทวดา, ไหว้ครูแม่บันได(อันนี้เคยเห็น ช่างจากบุรีรัมย์ ขอให้เจ้ของบ้านทำพิธีเพื่อที่จะทำบันไดได้อย่างราบรื่น และเหมือนกับเป็นการบอกกล่าวแม่บันได ตามความเชื่อของเขา), ฯลฯ ส่วนพิธีการก็มีหลายแบบหลายวิธี มากทั้ง โยนเหรีญ ทอดแห ตั้งประลำพิธีบ้าง ตั้งโต๊ะไหว้เฉยๆบ้าง เคยครั้งนึงเจ้าของบ้านไป เชิญ พราหมหลวง คนที่ทำพิธีแรกนาขวัญ กับโล้ชิงช้า มาทำพิธีตั้งเสาเอกให้บ้านของเขา ขอบอกว่าอลังการมาก มีทั้ง บัณเฑาะห์ สังห์มาเป่า แต่ค่าใช้จ่ายของท่านพราหมไม่ได้แพงอะไรเลยครับ ใครสนใจก็ลองติดต่อดูที่ โบสถ์พราหม ข้างๆเสาชิงช้าดูครับ ที่นั่นเขาให้คำแนะนำได้ดีมาก ส่วนที่เก็บมาฝากวันนี้จะมี รายละเอียดเรื่องตั้งเสาเอก และก็วิธีวาง ศิลาฤกษ์ พิธีตั้งเสาเอกปลูกเรือนตามเดือน เดือนดีคือ 6,9,12,1,2,4(เดือนไทย)ปลูกเรือนตามวัน จันทร์,พุธ,พฤหัสบดี เป็นวันดี จากมหาหมอดูเป็นข้อยกเว้นที่ห้ามใช้ฤกษ์สำหรับคนเกิดวันต่างๆ ถึงจะมีในรายการฤกษ์ข้างบนก็ห้ามใช้เด็ดขาด เพราะเป็นวันศัตรูและกาลกิณีกับวันเกิด1. ผู้เกิดวันอาทิตย์ ห้ามใช้ฤกษ์ที่เป็นวันศุกร์และวันอังคาร2. ผู้เกิดวันจันทร์

พิธีการตั้งเสาเอก Read More »

ชั้นดิน

รู้ความลึกของการตอกเสาเข็มไมโครไพล์ (micropile) หมดปัญหาบ้านทรุดที่เป็นกังวล

ในการติดตั้งเสาเข็มไมโครไพล์นั้นจะเป็นการตอกด้วยเครื่องตอกเสาเข็มขนาดเล็กที่ช่วยลดเสียงรบกวน รวมถึงไม่ทำให้สั่นสะเทือนรบกวนเพื่อนบ้าน หรือผู้อยู่ใกล้ แน่นอนว่าการที่ตอกด้วยความลึกอันเหมาะสมจะทำให้เกิดความแข็งแรง หมดปัญหาเสาร้าว หรือรุนแรงถึงขั้นบ้านทรุดในที่สุดได้ ทว่าความลึกของเสาควรอยู่ที่เท่าไหร่? การศึกษาอย่างเข้าใจจะช่วยให้เลือกใช้ได้ตอบโจทย์การใช้งาน เสาเข็มไมโครไพล์ควรตอกด้วยความลึกเท่าไหร่? การที่ทำให้เสาเข็มไมโครไพล์รับน้ำหนักได้นั้นควรต้องมีการตอกด้วยความลึกที่ 21 เมตรโดยประมาณกับชั้นดินที่แข็งแรง ซึ่งปกติแล้วจะสามารถตอกได้ลึกตั้งแต่ 20 – 30 เมตรถือว่าค่อนข้างลึกมาก และรับน้ำหนักได้สูงสุดมากกว่า 50 ตันขึ้นอยู่กับขนาดหน้าตัดและประเภทของเสาเข็ม เป็นการกระจายแรงต้าน 2 แบบ คือ แรงเสียดทานที่ผิวของเสาเข็ม และแรงต้านที่ปลายเสาเข็ม ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาบ้านทรุดได้เป็นอย่างดีในอนาคต ทั้งนี้ การที่จะต่อเติมบ้านได้ควรต้องเรียกวิศวกรมาช่วยเหลือ เพื่อตรวจสอบโครงสร้างเดิมที่มีอยู่ รวมถึงรากฐานใหม่ที่จะสามารถรับน้ำหนักได้มากน้อยแค่ไหนในการเพิ่มเติมที่กำลังจะเกิดขึ้น อาจจะต้องเพิ่มจำนวนเสาเข็มเนื่องจากส่วนที่มีการต่อเติมเราต้องการน้ำหนักมากจนโรงสร้างที่มีใช้งานไม่ได้ เป็นการเพิ่มรากฐานเผื่อว่าเสาเข็มรับน้ำหนักไม่ไหวก็จะได้กระจายแรงไปอีกได้ เพราะไม่อย่างนั้นปัญหาที่บ้านทรุด ร้าว หรือเสียหายมีโอกาสเกิดขึ้น ทำให้ต้องรื้อทุบใหม่ การรับน้ำหนักของเสาเข็มนี้เป็นอย่างไร? อย่างที่เราได้บอกไปว่าการรับน้ำหนักของเสาเข็มไมโครไพล์จะกระจายออกเป็น 2 แรง ได้แก่ Skin Friction หรือแรงเสียดทานที่ผิวของเสาเข็ม โดยที่จะเป็นการเกิดตรงที่มีขึ้นของเสาและดินบริเวณรอบ ๆ ซึ่งจะขึ้นอยู่กับผิวดินอีกว่าเป็นอย่างไร ทำให้เกิดแรงเสียดทานขึ้นมามากน้อยแค่ไหนได้ และขึ้นอยู่กับประเภทของเสาที่มีให้เลือกหลากหลายด้วย ไม่ว่าจะ เสารูปตัว I, เสาทรงสี่เหลี่ยม, เสาทรงกลม

รู้ความลึกของการตอกเสาเข็มไมโครไพล์ (micropile) หมดปัญหาบ้านทรุดที่เป็นกังวล Read More »