September 2023

สัญลักษณ์ที่ปรากฎในแบบสถาปัตยกรรมบ้าน

โดยเบื้องต้นแบบก่อสร้างที่ถูกต้องจะต้องมีรายชื่อ เลขประจำตัว และลายเซ็นของสถาปนิกและวิศวกร และมีใบอนุญาตก่อสร้างจากหน่วยงานราชการ ซึ่งมีอายุ 1 ปี จึงควรให้ผู้รับเหมาต่ออายุใบอนุญาตก่อนหมดอายุเสมอ โดยแต่ละบริษัทอาจมีการใช้ฟอร์มของแบบก่อสร้างแตกต่างกัน แต่มีหัวข้อสำคัญที่ควรมี คือ รูปแบบการก่อสร้าง, สถานที่ก่อสร้าง, เจ้าของ, สถาปนิก, วิศวกรโยธา, วิศวกรไฟฟ้า, วิศวกรสุขาภิบาล, เขียนแบบ, วันที่ และแผ่นที่ พร้อมกับกำกับมาตราส่วนของแผนผัง และบอกรหัสและหมายเลขแบบแปลนว่าเป็นในส่วนของงานระบบอะไร โดยจะแบ่งออกเป็น รหัสตัวอักษร ความหมาย A แบบสถาปัตยกรรม S แบบวิศวกรรมโครงสร้าง EE แบบระบบไฟฟ้า SN แบบประปา-สุขาภิบาล ตัวอย่างการเขียนแบบบ้านเบื้องต้น นอกจากรายละเอียดสำคัญที่อยู่ในหัวกระดาษแล้ว อีกหนึ่งส่วนประกอบก็คือองค์ประกอบต่าง ๆ ของบ้าน อาทิ คาน เสา โครงสร้างต่าง ๆ ซึ่งในส่วนนี้จะถูกจัดยู่ในส่วนของแบบสถาปัตยกรรม แบบสถาปัตยกรรม แบบสถาปัตยกรรมคือรายละเอียดที่สถาปนิคจะเป็นผู้จัดการในส่วนนี้ ซึ่งจะเป็นเรื่องของการออกแบบตัวบ้าน ขนาดจำนวนห้อง รวมถึงความสวยงามหน้าตาของบ้าน ซึ่งจะประกอบไปด้วย แบบขยาย เสมือนการ Zoom เข้าไปดูรายละเอียดเป็นส่วน ๆ …

สัญลักษณ์ที่ปรากฎในแบบสถาปัตยกรรมบ้าน Read More »

การเตรียมงานก่อสร้าง

การก่อสร้างอาคาร คืองานก่อสร้างที่ระบุในแบบก่อสร้างอาคาร และรายการประกอบ แบบเอกสารแนบสัญญา รวมทั้งงานประกอบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างอาคาร การทางานจึงต้องมีลำดับขั้นในการปฏิบัติงาน เพื่อให้ประหยัดค่าใช้จ่าย ลดเวลาการทำงาน เกิดผลงานที่ดี มีคุณภาพงานก่อสร้างเสร็จตรงตามเวลาที่กำหนด การเตรียมสถานที่ก่อสร้างอาคาร และการศึกษาแบบก่อสร้างอาคารรายการประกอบแบบ เอกสารแนบสัญญา เพื่อเตรียมขั้นตอนการก่อสร้างอาคารและการจัด เตรียมเครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ ให้เหมาะสม กับการดำเนินงานก่อสร้างอาคารการเตรียมสถานที่ก่อสร้างอาคาร หมายถึง การศึกษาสภาพบริเวณสถานที่ที่จะทำการ ปลูกสร้างอาคาร เพื่อสำรวจ ตรวจสอบ แนวเขตที่ดิน ให้ตรงกับเอกสารสิทธิ์ถือครองที่ดิน โดยขอรายละเอียดจากเจ้าของที่จะปลูกสร้างอาคาร เช่น เอกสารสิทธิ์ถือครองที่ดินโฉนดที่ดินมาประกอบกับแบบการก่อสร้างอาคาร รายการประกอบแบบ ใบอนุญาตปลูกสร้างอาคารและให้เจ้าของที่จะปลูกสร้างอาคารมาชี้บริเวณและแนวเขตที่ดิน เพื่อเป็นการยืนยันและป้องกันการก่อสร้างอาคารผิดพื้นที่ เมื่อทำการสารวจ ตรวจสอบเรียบร้อยแล้ว ควรดูแลหมุดแนวเขตให้อยู่ในสภาพเดิมตรงตามรังวัด แล้วจึงทำการปรับสภาพพื้นที่ เช่นการตัดหรือถมดินบริเวณให้ได้ระดับดินตามแบบที่กำหนดการกาหนดแนวรั้วและที่ดินข้างเคียงตลอดจนสาธารณูปโภคที่มีความจำเป็นในการอำนวยความสะดวกระหว่างทำการก่อสร้างอาคาร การสำรวจหลักเขตที่ดินการสำรวจตรวจสอบแนวหมุดหลักเขตที่ดิน เป็นการตรวจสอบพื้นที่ให้ตรงกับเอกสาร สิทธิ์ในการถือครองที่ดิน โฉนดที่ดิน ด้วยการตรวจสอบหมุดหลักเขตที่ดินโดยการนำชี้หมุดหลักเขตของเจ้าของที่ดินที่จะปลูกสร้างอาคารว่าหมุดหลักเขตที่ดิน ที่ปักไว้แต่เดิมมีตัวเลขหรือตัวอักษรตรงกับตัวเลขหรือตัวอักษรในเอกสารสิทธิ์การถือครองที่ดิน โฉนดที่ดินหรือไม่ และหมุดหลักเขตที่ดินถูกต้องตรงตามเอกสารสิทธิ์การถือครองที่ดินโฉนดที่ดิน ไม่มีการเคลื่อนย้าย หรือหากไม่แน่ใจควรให้เจ้าของที่ดินทำการติดต่อเจ้าพนักงานที่ดิน เพื่อทำการรังวัดตรวจสอบแนวหมุดหลักเขตที่ดิน พร้อมทั้งให้เจ้าของที่ดินข้างเคียงเข้าร่วมทำการ สำรวจตรวจสอบแนวเขตที่ดิน และลงนามรับรองแนวเขตที่ดินการรักษาหมุดหลักเขตที่ดิน เจ้าของที่ดินข้างเคียงเป็นผู้มีผลประโยชน์ร่วมกันในการรักษาหมุดหลักเขตที่ดิน ไม่ให้มีการเคลื่อนย้ายหมุดหลักเขตที่ดินโดยจะต้องคอยตรวจสอบความมั่นคงของหมุดหลักเขตที่ดินให้อยู่ตรงตามตำแหน่ง ตรงกับเอกสารสิทธิ์ถือครองโฉนดที่ดินซึ่งอาจเกิดจากคนทำการขุดย้ายหมุดหลักเขตที่ดิน …

การเตรียมงานก่อสร้าง Read More »

micropile-sanmina-cover1

แซนมินา-ไซ ซิสเท็มส์(ประเทศไทย) | micro pile i22x22 | ไมโครไพล์ | เสาเข็มไมโครไพล์

LOCATION : 90 หมู่ที่ 1 ติวานนท์ บ้านใหม่ เมืองปทุมธานี, ปทุมธานี โดยมีรายละเอียดเป็นเสาเข็มไมโครไพล์ i22x22 (micropile i22x22) ขนาดหน้าตัด 22×22 เซนติเมตร Design Load อยู่ที่ 25 ตัน/ต้น ทำการตอกเสาเข็มจนไม่ลงแล้วเช็ค BlowCount ตามรายการคำนวณของวิศวกรทุกต้น ผู้รับเหมา : Thai Nishimatsu Construction Co., Ltd. สถานะ : ส่งมอบงานตอกเสาเข็มเป็นที่เรียบร้อยแล้ว มาชมบรรยากาศขณะตอกเสาเข็มกันครับ หาข้อมูลเพิ่มเติมหรือติดต่อปรึกษางานก็สามารถติดต่อได้ทาง www.nmp.co.th www.narongmicropile.com Tel : 02-159-8480 และ Mobile : 091-309-7695