การเตรียมงานก่อสร้าง

การก่อสร้างอาคาร คืองานก่อสร้างที่ระบุในแบบก่อสร้างอาคาร และรายการประกอบ แบบเอกสารแนบสัญญา รวมทั้งงานประกอบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างอาคาร การทางานจึงต้องมีลำดับขั้นในการปฏิบัติงาน เพื่อให้ประหยัดค่าใช้จ่าย ลดเวลาการทำงาน เกิดผลงานที่ดี มีคุณภาพงานก่อสร้างเสร็จตรงตามเวลาที่กำหนด การเตรียมสถานที่ก่อสร้างอาคาร และการศึกษาแบบก่อสร้างอาคารรายการประกอบแบบ เอกสารแนบสัญญา เพื่อเตรียมขั้นตอนการก่อสร้างอาคารและการจัด เตรียมเครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ ให้เหมาะสม กับการดำเนินงานก่อสร้างอาคารการเตรียมสถานที่ก่อสร้างอาคาร หมายถึง การศึกษาสภาพบริเวณสถานที่ที่จะทำการ ปลูกสร้างอาคาร เพื่อสำรวจ ตรวจสอบ แนวเขตที่ดิน ให้ตรงกับเอกสารสิทธิ์ถือครองที่ดิน โดยขอรายละเอียดจากเจ้าของที่จะปลูกสร้างอาคาร เช่น เอกสารสิทธิ์ถือครองที่ดินโฉนดที่ดินมาประกอบกับแบบการก่อสร้างอาคาร รายการประกอบแบบ ใบอนุญาตปลูกสร้างอาคารและให้เจ้าของที่จะปลูกสร้างอาคารมาชี้บริเวณและแนวเขตที่ดิน เพื่อเป็นการยืนยันและป้องกันการก่อสร้างอาคารผิดพื้นที่ เมื่อทำการสารวจ ตรวจสอบเรียบร้อยแล้ว ควรดูแลหมุดแนวเขตให้อยู่ในสภาพเดิมตรงตามรังวัด แล้วจึงทำการปรับสภาพพื้นที่ เช่นการตัดหรือถมดินบริเวณให้ได้ระดับดินตามแบบที่กำหนดการกาหนดแนวรั้วและที่ดินข้างเคียงตลอดจนสาธารณูปโภคที่มีความจำเป็นในการอำนวยความสะดวกระหว่างทำการก่อสร้างอาคาร

การสำรวจหลักเขตที่ดิน
การสำรวจตรวจสอบแนวหมุดหลักเขตที่ดิน เป็นการตรวจสอบพื้นที่ให้ตรงกับเอกสาร สิทธิ์ในการถือครองที่ดิน โฉนดที่ดิน ด้วยการตรวจสอบหมุดหลักเขตที่ดินโดยการนำชี้หมุดหลักเขตของเจ้าของที่ดินที่จะปลูกสร้างอาคารว่าหมุดหลักเขตที่ดิน ที่ปักไว้แต่เดิมมีตัวเลขหรือตัวอักษรตรงกับตัวเลขหรือตัวอักษรในเอกสารสิทธิ์การถือครองที่ดิน โฉนดที่ดินหรือไม่ และหมุดหลักเขตที่ดินถูกต้องตรงตามเอกสารสิทธิ์การถือครองที่ดินโฉนดที่ดิน ไม่มีการเคลื่อนย้าย หรือหากไม่แน่ใจควรให้เจ้าของที่ดินทำการติดต่อเจ้าพนักงานที่ดิน เพื่อทำการรังวัดตรวจสอบแนวหมุดหลักเขตที่ดิน พร้อมทั้งให้เจ้าของที่ดินข้างเคียงเข้าร่วมทำการ สำรวจตรวจสอบแนวเขตที่ดิน และลงนามรับรองแนวเขตที่ดิน
การรักษาหมุดหลักเขตที่ดิน เจ้าของที่ดินข้างเคียงเป็นผู้มีผลประโยชน์ร่วมกันในการรักษาหมุดหลักเขตที่ดิน ไม่ให้มีการเคลื่อนย้ายหมุดหลักเขตที่ดินโดยจะต้องคอยตรวจสอบความมั่นคงของหมุดหลักเขตที่ดินให้อยู่ตรงตามตำแหน่ง ตรงกับเอกสารสิทธิ์ถือครองโฉนดที่ดินซึ่งอาจเกิดจากคนทำการขุดย้ายหมุดหลักเขตที่ดิน หรือการถมดินทับ และจากธรรมชาติ ฝนตกกัดเซาะ น้ำพัดพาหน้าดิน มาทับถม หรือพัดพาดินที่หมุดหลักเขตที่ดินไปจนหมุดหลักเขตหลุดและเคลื่อนย้ายได้ การเคลื่อนย้ายหมุดหลักเขตที่ดิน ที่กระทำโดยคนจะเจตนาหรือไม่ ถือว่ามีความผิดตามกฎหมายที่ดินที่กาหนดไว้ว่าหลักเขตหรือหมุดหลักเขตที่ดินเป็นสมบัติของทางราชการ ห้ามบุคคล ใดรื้อถอน เคลื่อนย้าย หรือทำลาย และตัวหมุดหลักเขตที่ดินต้องปักอยู่บนพื้นดินเท่านั้น

การปรับพื้นที่บริเวณก่อสร้างอาคาร
ในการก่อสร้างอาคารจะต้องตรวจสภาพพื้นที่และบริเวณที่จะทำการก่อสร้างอาคารเนื่องจากสภาพพื้นที่ในแต่ละแห่งมีสภาพที่แตกต่างกัน เช่น บริเวณพื้นที่เป็นป่าและสวน ที่รกด้วยหญ้า วัชพืช ต้นไม้ใหญ่ บริเวณพื้นที่ตามเนินเขา บริเวณพื้นที่ลุ่มที่มีน้ำขังหรือบ่อน้ำ ซึ่งจากสภาพบริเวณพื้นที่ ที่ต่างกันจึงจำเป็นต้องทำการปรับพื้นที่ให้ได้ค่าระดับ ±0.000 ตามแบบก่อสร้างให้พร้อมก่อนที่จะดำเนินการก่อสร้างอาคารต่อไป

1.บริเวณพื้นที่เป็นป่าและสวน
ส่วนมากบริเวณพื้นที่เป็นป่าและสวนจะเป็นบริเวณที่มีหญ้าวัชพืชปกคลุมพื้นที่ บางแห่งเป็นที่ลุ่มมีน้ำขังชุ่มชื้นตลอด มีต้นไม้ใหญ่ขึ้นเช่น ต้นมะม่วง ต้นมะขาม ต้นมะขามเทศ ต้นมะพร้าวต้นจามจุรี ต้นไม้เบญจพรรณทั่ว ๆ ไปทำให้กีดขวางการปรับพื้นที่และถมดิน จึงจำเป็นต้องตัดต้นไม้ใหญ่ออกก่อนทำการถมดิน และเมื่อตัดต้นไม้ใหญ่ออกแล้ว ให้ทำการขุดรากถอนโคนตอต้นไม้ ออกด้วย ก่อนทำการถมดินปรับพื้นที่ให้ได้ระดับ

2.บริเวณพื้นที่เป็นเนิน
ในบริเวณพื้นที่ก่อสร้างอาคาร ควรให้คนงานจัดการถางหญ้าและวัชพืชให้เตียนทั่วบริเวณเพื่อทำการตรวจสอบค่าระดับพื้นดินว่ามีค่าระดับแตกต่างกันมากน้อยแค่ไหน บางพื้นที่อาจจะเป็นเนินสูงกว่าระดับปกติทั่วไปจากธรรมชาติ หรืออาจเป็นเพราะมีการขนเอาเศษวัสดุ เศษหิน เศษปูนมาทิ้งไว้ในบริเวณพื้นที่ ในการปรับบริเวณที่พื้นที่ ที่มีค่าระดับที่ต่างกันมาก ควรจะนำเครื่องจักรมาช่วยในการปรับพื้นที่ดิน โดยการตัดดินจากบริเวณที่เป็นเนินไปถมบริเวณที่เป็นที่ลุ่ม เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายส่วนที่เป็นเศษวัสดุหินปูนถ้ามีขนาดใหญ่จะต้องทำการขนย้ายนำไปทิ้งบริเวณอื่น

3.บริเวณเป็นที่ลุ่มมีน้ำขังหรือบ่อน้ำ
บริเวณนี้ก่อนที่จะทำการถมดินจะต้องทำการวิดน้ำบริเวณที่ลุ่มออกให้หมดก่อน แล้วควรใช้เครื่องจักรกล ขุดลอกโคลนตม เศษหญ้า เศษวัชพืชออกจากบริเวณให้หมด และทำการตากและผึ่งหน้าดินบริเวณที่จะถมให้แห้งเสียก่อนจึงทำการถมดิน เพื่อเป็นการป้องกันการทรุดตัวของดินบริเวณที่มีน้ำขังและการถมดินให้ทำ การบดอัดดินเป็นชั้นๆ ละ 40 เซนติเมตร แต่ละชั้นให้ใช้เครื่อง จักรกล ในการบดอัดทำให้แน่นตามหลักวิชาการจนได้ระดับดิน ±0.000ตามแบบก่อสร้าง

4. บริเวณที่ติดกับถนนหรือทางหลวง
งานก่อสร้างอาคารจำเป็นต้องทำการขออนุญาตสร้างถนนเชื่อมกับถนนหรือทางหลวงโดยต้องเขียนแบบแปลนแสดงรายละเอียดต่าง ๆ ของ ตำแหน่งในการขอต่อเชื่อมโดยต้องบอกขนาดความกว้าง ความยาวตามแบบจากริมรั้วถึงแนวถนน แสดงชนิดของการสร้างถนน ว่าเป็นถนนคอนกรีตหรือแอสฟัลต์ ถ้าเป็นถนนอยู่ในเขตรับผิดชอบของเทศบาลต้องทำเรื่องขออนุญาตเทศบาล แต่ถ้าเป็นทางของกรมทางหลวงต้องขออนุญาตกรมทางหลวงก่อน ที่จะทำการก่อสร้างทางเชื่อม และการที่จะทำการสกัดหรือขุดถนนจะต้องขออนุญาตก่อนและต้องปฏิบัติ ตามเงื่อนไขที่หน่วยงานควบคุมกำหนด

Leave a Reply