March 2022

ไมโครไพล์-ปฐมอโศก

ปฐมอโศก จังหวัดนครปฐม | spun micro pile | ไมโครไพล์ | เสาเข็มไมโครไพล์

เป็นงานตอกเสาเข็มเพื่อสร้างอาคารใหม่ โดยใช้เสาเข็มสปันไมโครไพล์ (spun micropile) ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 20 เซนติเมตร รับน้ำหนักปลอดภัยไม่น้อยกว่า 35 ตัน/ต้น จำนวน 46 ต้น ที่นิคมอุตสาหกรรมบางปู ซอย 9A ที่ปฐมอโศก จังหวัดนครปฐม เพื่อใช้เป็นศูนย์อาหาร มาชมบรรยากาศขณะตอกเสาเข็มกันครับ แบบวีดีโอครับ

micropile-Napnutriscience

NAP+ นิคมอุตสาหกรรมบางปู | spun micro pile | ไมโครไพล์ | เสาเข็มไมโครไพล์

เป็นงานปรับปรุงโครงอาคาร ใช้เสาเข็มสปันไมโครไพล์ (spun micropile) ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 30 เซนติเมตร รับน้ำหนักปลอดภัยไม่น้อยกว่า 40 ตัน/ต้น จำนวน 564 ต้น ที่นิคมอุตสาหกรรมบางปู ซอย 9A มาชมบรรยากาศขณะตอกเสาเข็มกันครับ แบบวีดีโอครับ

micropile-hot 1 project

HOT-1 Project IRPC จ.ระยอง | spun micro pile | ไมโครไพล์ | เสาเข็มไมโครไพล์

เป็นงานตอกเสาเข็มเพื่อก่อสร้างอาคารใหม่ ใช้เสาเข็มสปันไมโครไพล์ (spun micropile) ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 30 เซนติเมตร รับน้ำหนักปลอดภัยไม่น้อยกว่า 40 ตัน/ต้น จำนวน 125 ต้น ที่นิคมอุตสาหกรรมไออาร์พีซี จังหวัดระยองโดยมีบริษัท ไทยนากาโน เป็นผู้รับเหมาหลัก มาชมบรรยากาศขณะตอกเสาเข็มกันครับ แบบวีดีโอครับ

ไมโครไพล์-ไทยรวมสินพัฒนาอุตสาหกรรม

ไทยรวมสินพัฒนาอุตสาหกรรม | spun micro pile | ไมโครไพล์ | เสาเข็มไมโครไพล์

เป็นงาน Renovate โรงงานเพิ่มพื้นที่เป็น 2 ชั้น ทำงานช่วงปีใหม่ ใช้เสาเข็มสปันไมโครไพล์ (spun micropile) ขนาด 25 เซนติเมตร รับน้ำหนักปลอดภัยไม่น้อยกว่า 40 ตัน/ต้น แบบวีดีโอครับ

5 ข้อทำไมเสาเข็มไมโครไพล์ กำจัดปัญหาต่อเติมบ้านทรุด

5 ข้อทำไมเสาเข็มไมโครไพล์ กำจัดปัญหาต่อเติมบ้านทรุดข้อดีน่ารู้เกี่ยวกับเสาเข็มไมโครไพล์ที่เจ้าของบ้านควรทราบ เพื่อเป็นทางเลือกในการต่อเติมบ้านบนพื้นที่ขนาดจำกัด และช่วยแก้ปัญหาต่อเติมบ้านทรุดในระยะยาวได้ก่อนอื่นเลยหากอยากทราบรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถเข้ามาชมเว็บไซต์เราก่อนได้ เรามีข้อมูลที่น่าจะเป็นประโยชน์กับท่านอีกมายมายในเว็บไซต์ของเรา https://www.narongmicrospun.com——————————————————————————————————————————————————–เริ่มกันที่ไมโครไพล์คืออะไรก่อน?เสาเข็มไมโครไพล์ คือเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กชนิดหนึ่งมีทั้งแบบ “หน้าตัดรูปตัวไอ” และแบบหน้าตัดกลมที่เรียกว่า “เสาเข็มสปันไมโครไพล์” (Spun Micropile ผลิตจากคอนกรีตแบบมีแรงเหวี่ยงในแบบหล่อ จึงแข็งแรงกว่าแบบหน้าตัดรูปตัวไอ) เสาเข็มไมโครไพล์ยาวท่อนละ 1.5 เมตร ใช้ตอกต่อกันตามความยาวที่ต้องการโดยเชื่อมเพลทเหล็กที่หัวและท้ายของเสาเข็ม เป็นทางเลือกที่ดีสำหรับงานต่อเติมบ้านในพื้นที่จำกัดและไม่ต้องการเจอกับปัญหาต่อเติมบ้านทรุด รวมถึงมีข้อดีอื่นๆ อีก ซึ่ง บริษัท ณรงค์ ไมโครสปัน จำกัด อยากจะนำทั้งหมดมาสรุปให้อ่านกันเป็นข้อๆ ดังต่อไปนี้——————————————————————————————————————————————————–1) ใช้เสาเข็มไมโครไพล์ หมดปัญหาต่อเติมบ้านทรุดพื้นที่ดินทั่วไปที่เราสร้างบ้านจะมีชั้นดินอ่อนอยู่ด้านบนและชั้นดินแข็งอยู่ด้านล่าง (ยกเว้นพื้นที่บริเวณใกล้ภูเขา ซึ่งดินชั้นบนเป็นดินแข็ง) เสาเข็มของบ้านปกติแล้วจะลงลึกจนถึงชั้นดินแข็งประมาณ 17-23 ม. จากผิวดิน ในขณะที่ส่วนต่อเติมทั่วไปมักลงเสาเข็มสั้นลึกจากผิวดินแค่ไม่เกิน 6 เมตร ซึ่งอยู่ในระดับชั้นดินอ่อน จึงทำให้ส่วนต่อเติมทรุดเร็วกว่าตัวบ้าน การใช้เสาเข็มไมโครไพล์ช่วยแก้ปัญหานี้ เพราะสามารถใช้ตอกต่อกันให้ลึกลงไปเรื่อยๆ จนถึงชั้นดินแข็งได้ ส่วนต่อเติมก็จะไม่ทรุดตัวเร็วกว่าบ้าน ปัญหาต่อเติมบ้านทรุดจึงหมดไป ให้เราช่วยคุณได้ narongmicrospun——————————————————————————————————————————————————–2) เสาเข็มไมโครไพล์ ใช้ต่อเติมบ้านในพื้นที่แคบได้การจะลงเสาเข็มให้ลึกถึงชั้นดินแข็งในงานต่อเติมบ้าน โดยทั่วไปมี 2 ทางเลือก คือ “เสาเข็มเจาะ” กับ “เสาเข็มไมโครไพล์” ข้อจำกัดของเสาเข็มเจาะคือเครื่องมือที่ใช้มีขนาดใหญ่ …

5 ข้อทำไมเสาเข็มไมโครไพล์ กำจัดปัญหาต่อเติมบ้านทรุด Read More »

ต่อเติมอย่างไรไม่ให้ทรุด?

สำหรับใครที่มีบ้าน เชื่อว่าหลายคนคงมีความคิดที่จะต่อเติมเพื่อเพิ่มพื้นที่ใช้สอยให้กับบ้าน ซึ่งดูเหมือนว่าต่อเติมเล็กๆน้อยๆ ไม่กี่ตารางเมตร ไม่น่าจะเป็นอะไร แต่ในความเป็นจริงแล้วการออกแบบโครงสร้างของบ้าน ผู้ออกแบบจะไม่ได้คำนวณเผื่อการรับน้ำหนักส่วนต่อเติมเอาไว้ด้วย ดังนั้นจึงเป็นสาเหตุให้เกิดการแตกร้าวและทรุดขึ้น ตามปกติแล้วเมื่อเราสร้างบ้าน วันเวลาผ่านไปก็จะดินก็จะเกิดการทรุดบ้างตามธรรมชาติซึ่งถ้าบ้านออกแบบเสาเข็มเพื่อความน้ำหนักมาดี บ้านก็จะทรุดตัวไปพร้อมๆกันทำให้ไม่มีปัญหาการแตกร้าว แต่ถ้ามีการต่อเติมแล้วไม่ได้มีการลงเลาเข็มหรือเสาเข็มไม่ลึกถึงชั้นดินแข็งโดยเสาเข็มสั้นจะทรุดตัวก่อน ในขณะที่โครงสร้างเดิมยังไม่ทรุด จึงส่งผลให้เกิดการแยกส่วนขึ้น แต่ถ้ากรณีที่เรามีงบประมาณไม่เพียงพอสำหรับการตอกเสาเข็มให้ลึกถึงชั้นดินแข็ง หรือข้อมีจำกัดของพื้นที่ แนะนำให้ต่อเติมโดยการแยกโครงสร้างออกจากอาคารเดิมอย่างเด็ดขาด แม้ว่าจะสร้างให้ชิดกับอาคารเดิมก็ตาม นอกจากจะต้องแยกโครงสร้างออกจากตัวบ้านแล้วควรจบงานรอยต่อพื้นและผนังให้ถูกต้องด้วย ข้อผิดพลาดที่พบบ่อยคือช่างมักจะก่อผนังหรือหล่อพื้นชนเชื่อมติดกับบ้านเดิม ต่อมาเมื่อพื้นดินทรุดตัวลงจากน้ำหนักกดทับของส่วนต่อเติม ส่วนต่อเติมก็จะทรุดตามพื้นดินจนเกิดการฉีกขาดแตกร้าวบริเวณรอยต่อ ทำให้น้ำรั่วซึมเข้ามาได้ง่าย วิธีที่ถูกต้องคือให้ใช้โฟมคั่นระหว่างรอยต่อดังกล่าว (ทั้งพื้นและผนัง) ก่อนจะยาแนวด้วย PU หรือ Silicone นอกจากนี้ เพื่อให้การทรุดตัวเป็นไปอย่างช้าๆ อาจเลือกใช้วัสดุกับเฟอร์นิเจอร์ที่มีน้ำหนักเบา รวมถึงกระจายน้ำหนักเฉลี่ยหลายด้านเพื่อหลีกเลี่ยงการทรุดตัวค่ะ เรื่องบ้านทรุดนั้นเป็นปัญหาที่เราพอเจอได้บ่อยก็จริง สาเหตุเกิดได้หลากหลายทั้งโครงสร้างเองหรือปัจจัยภายนอก แต่หากเรามีความรู้แล้วก็จะช่วยป้องกันเบื้องต้นหรือรู้แนวทางการแก้ไขได้ ที่สำคัญหากไม่แน่ใจนั้น เราควรมีผู้ช่วยหรือปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้บ้านที่เราสร้างอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ ไม่ต้องซ่อมแซมบ่อยๆค่ะ อย่างไรก็ตามการต่อเติมนั้นควรคำนึงระยะร่นตามกฎหมายและไม่ไปกระทบกับความเป็นอยู่ของเพื่อนบ้านด้วยค่ะ ขอบคุณข้อมูลบางส่วนและภาพประกอบจาก   SCG และ www.st-qps.com  ที่มา https://thinkofliving.com/ไอเดียตกแต่ง/บ้านทรุดหรือไม่-ขึ้นอยู่กับเสาเข็ม-583138/

ตอกเสาเข็มไปแล้วทำไมบ้านยังทรุด?

หลายๆ ท่านที่เลือกใช้เสาเข็มไมโครไพล์ มาต่อเติมบ้านหรือโรงงาน ไม่ว่าจะเป็นเสาเข็มสปันไมโครไพล์ เสาเข็มไอไมโครไพล์หรือเสาเข็มสแควร์ไมโครไพล์ ก็ตาม ส่วนมากจะเลือกของถูกไว้ก่อน โดยที่ไม่ได้ศึกษาเลยว่าเสาเข็มจะรับน้ำหนักตามที่ผู้ออกแบบ ออกแบบไว้ได้รึเปล่า และวิธีการตอกเสาเข็มไมโครไพล์นั้นเขาตอกกันยังไง มีอะไรที่ต้องรู้เพิ่มเติมบ้าง บทความนี้จะจะเป็นแนวทางที่จะช่วยให้ทุกท่าน ไปดูวิธีการตอกเสาเข็มไมโครไพล์กันว่า วิธีการตอกเสาเข็มแบบที่เป็นมืออาชีพจริงๆ เขาตอกเสาเข็มกันยังไง จะต้องดูอะไรบ้าง สิ่งที่สำคัญที่สุดในการตอกเสาเข็มไมโครไพล์ คือน้ำหนักของลูกตุ้มที่ใช้ตอกเสาเข็ม  แล้วเราจะรู้ได้ยังไงว่าลูกตุ้มที่เราเห็นนั้น จริงๆ แล้วมันหนักเท่าไหร่ ตรงตามรายการคำนวณหรือไม่ คร่าวๆ ก็คือใช้สูตรคำนวณ (กว้าง*ยาว*สูง*.0079) หน่วยเป็นเซนติเมตรนะครับ เมื่อคูณกันออกมาแล้วผลลัพธ์ที่ได้จะมีหน่วยเป็นกิโลกรัม ถ้าจะแปลงเป็นตันก็หารด้วย 1000แต่วิธีนี้จะใช้ไม่ค่อยได้ผลแล้วในปัจจุบัน เนื่องจากมีผู้รับเหมาตอกเสาเข็มบางรายหัวใส ใส่เหล็กแค่ครึ่งเดียวของความสูงของลูกตุ้มทำให้น้ำหนักของลูกตุ้มหายไปมากพอสมควร ทำให้เวลาตอกเสาเข็ม ความลึกที่ได้จะไม่ถึงชั้นดินดานจริงๆ แต่ได้โบว์เค้าแล้วตามรายการคำนวณเลยฉะนั้นแล้ววิธีที่ได้ผลที่ดีที่สุดคือเอาลูกตุ้มไปชั่งเลยครับหรือให้ผู้รับเหมาเตรียมตาชั่งมาด้วย แต่ตาชั่งต้องมีผลสอบเทียบ (คาลิเบรท) มาด้วย 2. เมื่อลูกตุ้มได้น้ำหนักตามต้องการแล้ว ต่อมาที่ต้องดูคือระยะยกตุ้มตอนเช็คโบว์เค้า แล้วเราจะรู้ได้ยังไงว่าต้องยกเท่าไหร่ ให้ขอดูรายการคำนวณครับ ในนั้นจะมีบอกหมดเลย ว่าเสาเข็มอะไร หน้าตัดเท่าไหร่ น้ำหนักลูกตุ้มที่จะใช้ตอกควรหนักเท่าไหร่ ระยะยกตอนเช็คโบว์เค้าเท่าไหร่ ถ้าเรากะระยะด้วยสายตาไม่ถูก ให้ใช้ตลับเมตรวัดเลยครับ 3. ปั้นจั่นมีการยึดหรือไม่ หน้าตะเกียบได้ดิ่งระดับน้ำไหม ทำใมถึงต้องยึดตัวปั้นจั่นให้อยู่กับที่ไม่ให้ตัวปั้นจั่นขยับได้เลย เพราะการตอกเสาเข็ม ไม่ว่าจะเป็นเสาเข็มขนาดใหญ่ …

ตอกเสาเข็มไปแล้วทำไมบ้านยังทรุด? Read More »