ต่อเติมอย่างไรไม่ให้ทรุด?

สำหรับใครที่มีบ้าน เชื่อว่าหลายคนคงมีความคิดที่จะต่อเติมเพื่อเพิ่มพื้นที่ใช้สอยให้กับบ้าน ซึ่งดูเหมือนว่าต่อเติมเล็กๆน้อยๆ ไม่กี่ตารางเมตร ไม่น่าจะเป็นอะไร แต่ในความเป็นจริงแล้วการออกแบบโครงสร้างของบ้าน ผู้ออกแบบจะไม่ได้คำนวณเผื่อการรับน้ำหนักส่วนต่อเติมเอาไว้ด้วย ดังนั้นจึงเป็นสาเหตุให้เกิดการแตกร้าวและทรุดขึ้น ตามปกติแล้วเมื่อเราสร้างบ้าน วันเวลาผ่านไปก็จะดินก็จะเกิดการทรุดบ้างตามธรรมชาติซึ่งถ้าบ้านออกแบบเสาเข็มเพื่อความน้ำหนักมาดี บ้านก็จะทรุดตัวไปพร้อมๆกันทำให้ไม่มีปัญหาการแตกร้าว แต่ถ้ามีการต่อเติมแล้วไม่ได้มีการลงเลาเข็มหรือเสาเข็มไม่ลึกถึงชั้นดินแข็งโดยเสาเข็มสั้นจะทรุดตัวก่อน ในขณะที่โครงสร้างเดิมยังไม่ทรุด จึงส่งผลให้เกิดการแยกส่วนขึ้น

แต่ถ้ากรณีที่เรามีงบประมาณไม่เพียงพอสำหรับการตอกเสาเข็มให้ลึกถึงชั้นดินแข็ง หรือข้อมีจำกัดของพื้นที่ แนะนำให้ต่อเติมโดยการแยกโครงสร้างออกจากอาคารเดิมอย่างเด็ดขาด แม้ว่าจะสร้างให้ชิดกับอาคารเดิมก็ตาม นอกจากจะต้องแยกโครงสร้างออกจากตัวบ้านแล้วควรจบงานรอยต่อพื้นและผนังให้ถูกต้องด้วย ข้อผิดพลาดที่พบบ่อยคือช่างมักจะก่อผนังหรือหล่อพื้นชนเชื่อมติดกับบ้านเดิม ต่อมาเมื่อพื้นดินทรุดตัวลงจากน้ำหนักกดทับของส่วนต่อเติม ส่วนต่อเติมก็จะทรุดตามพื้นดินจนเกิดการฉีกขาดแตกร้าวบริเวณรอยต่อ ทำให้น้ำรั่วซึมเข้ามาได้ง่าย วิธีที่ถูกต้องคือให้ใช้โฟมคั่นระหว่างรอยต่อดังกล่าว (ทั้งพื้นและผนัง) ก่อนจะยาแนวด้วย PU หรือ Silicone นอกจากนี้ เพื่อให้การทรุดตัวเป็นไปอย่างช้าๆ อาจเลือกใช้วัสดุกับเฟอร์นิเจอร์ที่มีน้ำหนักเบา รวมถึงกระจายน้ำหนักเฉลี่ยหลายด้านเพื่อหลีกเลี่ยงการทรุดตัวค่ะ

เรื่องบ้านทรุดนั้นเป็นปัญหาที่เราพอเจอได้บ่อยก็จริง สาเหตุเกิดได้หลากหลายทั้งโครงสร้างเองหรือปัจจัยภายนอก แต่หากเรามีความรู้แล้วก็จะช่วยป้องกันเบื้องต้นหรือรู้แนวทางการแก้ไขได้ ที่สำคัญหากไม่แน่ใจนั้น เราควรมีผู้ช่วยหรือปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้บ้านที่เราสร้างอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ ไม่ต้องซ่อมแซมบ่อยๆค่ะ อย่างไรก็ตามการต่อเติมนั้นควรคำนึงระยะร่นตามกฎหมายและไม่ไปกระทบกับความเป็นอยู่ของเพื่อนบ้านด้วยค่ะ

ขอบคุณข้อมูลบางส่วนและภาพประกอบจาก   SCG และ www.st-qps.com 

ที่มา

https://thinkofliving.com/ไอเดียตกแต่ง/บ้านทรุดหรือไม่-ขึ้นอยู่กับเสาเข็ม-583138/

Leave a Reply