พื้นสำเร็จ vs พื้นหล่อกับที่

อย่าสุ่มสี่สุ่มห้าเปลี่ยนพื้นสำเร็จกับพื้นหล่อกับที่ พัง แน่นอน

เป็นเรื่องที่น่าเศร้าไม่น้อยเลย ว่าผู้รับเหมาบ้านเราหลายคนทำให้เกิดอาคารวิบัติ โดยรู้เท่า ไม่ถึงการณ์โดยการ เปลี่ยนแปลง แบบวิศวกรรมโครงสร้าง ของพื้น จากพื้นหล่อกับที่ธรรมดา ไปเป็นพื้นสำเร็จ
เพื่อการทำงาน ที่ง่ายกว่า… และบางทีก็เปลี่ยนจาก ระบบพื้นสำเร็จ ไปเป็นพื้นหล่อกับที่ ยามที่หาพื้นสำเร็จ ตามแบบไม่ได้ โดยมักจะบอกกับเจ้าของอาคารว่า…”เหมือนกัน”
ธรรมชาติของพื้นทั้งสองระบบนี้แตกต่างกันมาก และทำให้อาคารของท่านพังลงมาได้ง่าย ๆ … หากลองวิเคราะห์ถึงพื้นฐาน ของการรับแรงในคานดู จะเห็นได้ถึงความแตกต่าง อย่างเด่นชัด พื้นสำเร็จ
เป็นการวางแผ่นพื้น ลงบนคานสองด้าน คือหัวและท้าย สมมุติว่า พื้นทั้งผืนนั้น ขนาด 6 x 6 เมตร รวมเป็นพื้นที่ 36 ตร.ม. ต้องการให้รับน้ำหนักได้ ตร.ม. ละ 200 กก. ทำให้จะต้องรับน้ำหนักได้ = 36 x
200 = 7,200 กก. และน้ำหนัก 7,200 กก. นั้นจะถ่ายลง บนคานหัวท้าย สองข้าง คานหัวท้าย จะแบ่งน้ำหนักกัน รับตัวละ = 7,200/2 = 3,600 กก. โดยที่คานด้านข้าง อีกสองตัว อาจจะไม่ได้รับแรงกด
อะไรเลย ทำหน้าที่เป็นตัวยึดเท่านั้น…. เมื่อเปลี่ยนพื้นสำเร็จ เป็นพื้นหล่อกับที่ การถ่ายน้ำหนัก จะถ่ายลงยังคานทั้ง 4 ตัว (ด้าน) ทำให้คาน แต่ละตัว ต้องรับน้ำหนัก = 7,200/4 = 1,800 กก. คานด้านข้าง
ทั้งสอง ที่ออกแบบ ไม่ให้รับน้ำหนักอะไรเลย ก็ต้องมารับน้ำหนัก 1,800 กก. ทำให้คานนั้นหักได้โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้ามีพื้นต่อเนื่อง ทางด้านข้างอีก คานที่ไม่ได้ออกแบบมา ให้รับน้ำหนัก อาจจะต้อง
รับน้ำหนักถึง 3,600 กก. ทีเดียว ส่วนคานด้านหัวท้าย ออกแบบมาให้รับน้ำหนัก 3,600 กก. กลับมีน้ำหนักลงเพียง 1,800 กก. ซึ่งอาจจะทำให้ เกิดปัญหาอื่น ๆ ต่อเนื่องได้ทำนองเดียวกัน หากเปลี่ยนพื้นหล่อกับที่ธรรมดามาเป็นพื้นสำเร็จ คานที่ออกแบบหัวท้าย รับเฉลี่ย 4 ส่วน ต้องมารับเฉลี่ยเพียง 2 ส่วน ก็จะรับน้ำหนักมากไป และจะเกิดการวิบัติได้ (ออกแบบไว้รับได้1,800 กก. ต้องมารับ 3,600 กก.)

คอนกรีตผสมโม่มีความแข็งแกร่งซักเท่าไรกัน

ตอนนี้ใครก็ชอบใช้คอนกรีตผสมเสร็จ หรือที่เรียกกันว่า Ready Mixed เวลาจะใช้ ก็เปิดดู ข้อกำหนดของผู้ออกแบบ ว่าให้ใช้ ความอัดแกร่งเท่าไร ซึ่งส่วนใหญ่จะบอกเป็นหน่วย KSC. (กิโลกรัม ต่อหนึ่ง
ตารางเซนติเมตร) เช่นบอกเป็น 240 KSC. หรือ 280 KSC. หรือ 320 KSC. เป็นต้น ซึ่งมันง่าย จนหลาย ๆ คน ลืมกันไปหมดแล้วว่า เจ้าคอนกรีต ที่ผสมโม่ตัวเล็ก ๆ แบบสูตร 1 : 2 : 4 โดย ปริมาตร
(ใช้ปูน Portland ขนาด 6 ถุงครึ่งหรือ 7 ถุงต่อ ลบม.) เดิม ๆ นั้น มันมีกำลังอัดเท่าไร… ก็เลยบอกไว้กันลืมว่า โดยประมาณ ที่ผสมแบบธรรมดา ๆ คอนกรีตผสมโม่ จะมีกำลังอัด เท่ากับ 155-175 KSC.
เท่านั้นเอง อย่าไปใช้ สุ่มสี่สุ่มห้า แทนเจ้า 240-280-320 KSC. เท่านั้นเอง เข้าเชียวนา

HIGH ZONE และ LOW ZONE คืออะไร

ศัพท์คำว่า High Zone -Low Zone เป็นศัพท์ใหม่ในวงการก่อสร้างปัจจุบัน (แม้จะเป็น ศัพท์ทางวิชาการ มานานแล้ว) จึงทำให้หลายคน เกิดความสับสน ว่ามันคืออะไรกัน แปลตามตัวหนังสือ เป็น
ภาษาบ้านเรา ก็น่าจะแปลว่า “อาคารส่วน ที่มีความสูงมาก กับอาคาร ส่วนที่มีความสูงน้อย” ซึ่งมีข้อพึงคำนึง หรือสิ่งที่ น่าจัดระบบหลัก ๆ อยู่ 2 ประการ คือ
1.) หากโครงสร้างของอาคารสูงไม่เท่ากัน น่าจะมีการแยกโครงสร้างออกจากกัน หากความสูงต่างกันมาก หรือหาก ความสูงต่างกัน ไม่มาก ตอนก่อสร้าง ก็น่าจะก่อสร้าง แยกออกจากกัน และเชื่อม
โครงสร้าง ต่อกันภายหลัง เพราะอาคาร ที่มีความสูงแตกต่างกัน จะมีการทรุดตัว ที่แตกต่างกัน(Differential Settlement) หากไม่มี การเตรียมการ เรื่องนี้ไว้ โครงสร้างอาจ บิดงอและวิบัติได้
2.) ระบบการขนส่งทางแนวตั้ง (Lift) อาจจะมีการแยกส่วนออกจากกัน Lift บริการใน High Zone จะได้ไม่ต้อง จอดรอ ในชั้นล่าง ๆ ก็จะเกิดความคล่องตัวมากขึ้น

หาข้อมูลเพิ่มเติมหรือติดต่อปรึกษางานก็สามารถติดต่อได้ทาง

บริษัท ณรงค์ ไมโครสปัน จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายพร้อมตอกเสาเข็มไมโครไพล์ (Spun Micropile, Square Micropile, I Micropile, Steel Micropile)

www.nmp.co.th

www.narongmicropile.com

Tel : 02-159-8480 และ Mobile : 091-309-7695

Leave a Reply