บ้านชั้นเดียว

รีวิวสร้างบ้านให้แม่ ตั้งแต่ยื่นกู้จนสร้างเสร็จ 100% จากบ้านไม้ใต้ถุนสูง ทุบทำใหม่ทั้งหลังเป็นบ้านชั้นเดียว ราคาไม่เกิน 2 ล้านบาท

รีวิวสร้างบ้านให้แม่ ตั้งแต่ยื่นกู้จนสร้างเสร็จ 100% จากบ้านไม้ใต้ถุนสูง ทุบทำใหม่ทั้งหลังเป็นบ้านชั้นเดียว ราคาไม่เกิน 2 ล้านบาท

 ความฝันของลูกหลาย ๆ คนก็คือ การสร้างบ้านให้พ่อ-แม่ได้อยู่สบาย ๆ เช่นเดียวกับ คุณ ผักหนาม สมาชิกเว็บไซต์พันทิปดอทคอม ที่ตัดสินใจทุบบ้านไม้อายุ 33 ปี ทั้งหลังแล้วสร้างใหม่เป็นบ้านชั้นเดียวหลังคาเพิงหมาแหงน งบไม่เกิน 2 ล้านบาท เพื่อให้แม่อยู่บ้านที่สวย แข็งแรง และน่าอยูกว่าเดิม ที่สำคัญคือไม่ต้องระวังปัญหาเรื่องปลวกกินไม้อีกต่อไป

 

[CR] รีวิว กู้เงินสร้างบ้านให้แม่

โดย คุณ ผักหนาม

 

 เริ่มจากเจ้าของกระทู้อยากสร้างบ้านหลังใหม่ให้แม่ เนื่องจากบ้านเดิมที่แม่อยู่น้องปลวกได้เข้ามาจับจองอยู่อาศัยมานานนับปี จนทำให้บ้านผุพัง หากไม่เร่งรื้อและสร้างใหม่ บ้านคงได้พังลงมาภายในปีสองปีนี้แน่

บ้านชั้นเดียว ราคาไม่เกิน 2 ล้านบาท-1

 – บ้านไม้หลังเดิม ใต้ถุนสูง อายุประมาณ 33 ปี

 

 เจ้าของกระทู้จึงได้ตัดสินใจจะรื้อและสร้างบ้านหลังใหม่ โดยการกู้เงินธนาคารเจ้าของกระทู้กู้ร่วมกับน้องสาว เนื่องจากน้องสาวทำงานรัฐวิสาหกิจ ที่ทำ MOU กับ ธอส.   จึงได้ดำเนินเรื่องในการกู้กับธนาคารดังกล่าว โดยมีการเตรียมเขียนแบบบ้านไว้นานแล้ว และมีการปรับแก้ไขจนได้แบบบ้านตามต้องการ โชคดีที่เจ้าของกระทู้มีคนใกล้ตัวเขียนแบบบ้านให้ ทำให้สามารถปรับแก้ไขแบบได้ตามต้องการ ^_^  จึงไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเขียนแบบ เสียแค่ค่าใช้จ่ายในการคำนวณแบบโครงสร้าง และทำ BOQ ราคาก่อสร้างเพื่อใช้ประกอบในการยื่นกู้เงินกับธนาคาร ให้กับวิศวกรในที่ราคาไม่แพง เมื่อได้แบบบ้านเรียบร้อยแล้ว ก็ได้ทำเรื่องยื่นขออนุญาตก่อสร้างกับทาง อบต. ใช้เวลาประมาณ 1 อาทิตย์ ก็ได้ใบอนุญาตก่อสร้างมาเรียบร้อย ขั้นตอนการยื่นกู้เงินกับธนาคาร เตรียมเอกสารประกอบการกู้ยืมดังนี้

 

เอกสารส่วนบุคคล 

 

 – บัตรประจำตัวประชาชน และ ทะเบียนบ้าน

 – ทะเบียนสมรส / ใบหย่า (ถ้ามี)

 – บัตรประจำตัวประชาชน และ ทะเบียนบ้าน-คู่สมรส (ถ้ามี)

 

เอกสารการเงิน

 

 – หนังสือรับรองเงินเดือน

 – เอกสารส่งเงินประกันสังคมย้อนหลัง 1 ปี  (ขอได้ที่ สำนักงานประกันสังคม)

 – สลิปเงินย้อนหลัง  3 เดือน

 – Statement ย้อนหลัง 6 เดือน

 

เอกสารเกี่ยวกับบ้าน

 

 – โฉนดที่ดิน ที่จะสร้าง (โดยที่ดินนั้นต้องเป็นกรรมสิทธิของผู้กู้)

 – แบบแปลนบ้านที่จะสร้าง

 – ใบประมาณราคาการก่อสร้าง (BOQ)

 – ใบอนุญาตปลูกสร้าง

 

 เมื่อได้เอกสารครบ ก็ดำเนินเรื่องขอกู้ ซึ่งเจ้าของกระทู้ได้ทำเรื่องยื่นกู้ช่วง เดือนธันวาคม 2563  ผลอนุมัติ เดือนกุมภาพันธ์ 2564  (นัดเซ็นสัญญา 18 กุมภาพันธ์ 2564)

 

 การดำเนินการยื่นกู้  มีขั้นตอนดังนี้

 

  1.         เตรียมเอกสารดังกล่าวข้างต้นไปยื่นกับเจ้าหน้าที่ ธอส สาขาที่ใกล้บ้าน ซึ่งในระหว่างนี้ เจ้าหน้าที่ โทรมาขอเอกสารของ จขกท เพิ่มเติม  เกี่ยวกับเรื่อง รายได้อื่น ๆ  , การนำส่งเงินประกันสังคม , ถ่ายรูปสถานที่ทำงาน ฯลฯ (เนื่องจาก จขกท ทำงานบริษัทเอกชน และ อยู่ในช่วงสถานะการ์ณโควิด)  ทางธนาคารเกรงว่าจะไม่มั่นคง จึงได้ตรวจเข้มหน่อยค่ะ  ส่วนของน้องสาว ไม่ตรวจเข้มมาก แค่โทรเช็คยืนยันตัวตนในที่ทำงานก็เรียบร้อย

 

  1.         หลังจากธนาคารได้เอกสารเพิ่มเติมครบถ้วนแล้ว ใช้เวลารอประมาณเกือบ 2 อาทิตย์  จะมีเจ้าหน้าที่มาประเมินที่ดิน และ แบบบ้าน เข้าไปประเมิน ซึ่งในส่วนนี้เราต้องเสียค่าใช้จ่ายในการประเมิน 2,800 บาท  (จ่าย ณ. วันที่ไปประเมินเลย) อ้อ เกือบลืม ในวันประเมิน เราต้องเตรียมเอกสารเกี่ยวกับระวางที่ดินของโฉนดที่ดินแปลงที่เราจะสร้างบ้านไว้ให้เจ้าหน้าที่ด้วย ( ควรไปขอล่วงหน้าที่กรมที่ดินเตรียมไว้)

 

  1.         รออีกประมาณ  2 สัปดาห์ ก็จะมีเจ้าหน้าที่โทรมาแจ้งว่า อนุมัติยอดเงินที่เท่าไร

 

  1.         นัดเซ็นสัญญาที่ธนาคาร และ จดจำนองที่กรมที่ดิน (ต้องเตรียมค่าจดจำนอง 1% ของเงินกู้ ) และค่าธรรมเนียมอีกนิดหน่อย พร้อมเปิดบัญชีไว้รอเพื่อโอนเงินค่าก่อสร้างเข้าบัญชี

 

  1.         งวดแรกธนาคารจะให้เงิน 10% ของวงเงินกู้ หลังจากที่เราจดจำนองเสร็จ ธนาคารจะโอนเงินเข้าบัญชีที่เราเปิดบัญชีไว้กับธนาคาร   โดยงวดต่อๆ ไป ธนาคาร จะโอนเงินตามงวดงานก่อสร้าง โดยเราต้องโทรหาเจ้าหน้าประเมินให้มาประเมินความคืบหน้าในการก่อสร้าง ในการประเมินแต่ละครั้งจะเสียค่าประเมิน ครั้งละ 800 บาท (หากทำการเบิกเงินงวดบ่อย ก็จะเสียค่าประเมินเยอะ) จขกท ก็เลยรวบยอดเบิกจากธนาคารประมาณ 5 งวด (ธนาคารแบ่งงวดงานมาให้ประมาณ 10 งวด)  เมื่อเจ้าหน้าที่มาประเมิน ผ่านไป 3-4 วัน ธนาคารก็จะโอนเงินเข้าบัญชีที่เราไปเปิดไว้กับธนาคาร  จนบ้านสร้างได้ครบ 100% ก็จะได้เงินกู้ทั้งหมด

 

 *** เพิ่มเติม*** ในการเบิกเงินงวดสุดท้ายกับธนาคาร  เราจะต้องดำเนินการขอทะเบียนบ้าน มิเตอร์น้ำประปา มิเตอร์ไฟฟ้าให้เรียบร้อย  แนบเอกสารไปตอนที่ทำเรื่องเบิกเงินงวดสุดท้ายด้วยนะคะ  แต่ถ้าหาก เป็นการรื้อบ้านเก่า แล้วใช้บ้านเลขที่เดิม ให้ทำการแก้ไขชื่อเจ้าบ้าน เป็น ชื่อผู้ขอกู้ให้เรียบร้อยด้วยนะคะ

 

 ปล. ธนาคารกำหนดให้เราสร้างบ้านให้แล้วเสร็จในระยะเวลา 6 เดือน ถ้าไม่เสร็จเราสามารถขยายได้โดยต้องไปเขียนคำร้องขยายระยะเวลา ( ซึ่งในวันที่เซ็นสัญญา เจ้าหน้าที่ให้เราเซ็นคำร้องขอขยายระยะเวลาไว้ล่วงหน้าแล้ว)

 

 เมื่อกู้ผ่านเรียบร้อยแล้ว มีเงินสร้างบ้านแน่ ๆ แล้ว เจ้าของกระทู้จึงได้เร่งหาผู้รับเหมา ที่จะมาก่อสร้าง ติดต่อหาไปประมาณ 3-4 ที่ ทั้งบริษัทรับเหมาก่อสร้างและผู้รับเหมา แต่ละที่ประเมินราคามาเกินวงเงินก่อสร้าง ทั้งนั้นเลยเนื่องจากสถานที่ก่อสร้างบ้านนั้น อยู่รอบนอกในตัวเมืองมาก ประมาณ 90 กม. ทำให้มีค่าใช้จ่ายในการขนส่งและเดินทางสูงจึงได้ทำการปรับลดวัสดุบางรายการที่ สามารถตัดออกได้เพื่อให้วงเงินก่อสร้างอยู่ในงบประมาณ เมื่อได้ผู้รับเหมาแล้ว ต่อไปก็อยู่ในช่วงเวลาหา ฤกษ์ลงเสาเอก ซึ่งก็ได้วันดีคือวันที่  22 มีนาคม 2564 เวลา 09.09 น. ในการลงเสาเอก

บ้านชั้นเดียว ราคาไม่เกิน 2 ล้านบาท-2
บ้านชั้นเดียว ราคาไม่เกิน 2 ล้านบาท-3

 

 – ทำการรื้อบ้านหลังเก่า พร้อมปรับดิน ใช้เวลา 5 วัน (รื้อ 3 วัน ถมดินพร้อมปรับ 2 วัน)

บ้านชั้นเดียว ราคาไม่เกิน 2 ล้านบาท-4

 

 

 – เมื่อปรับดินเรียบร้อย ทีมช่างก็ได้เข้าเตรียมวางผัง ขุดดิน เพื่อที่จะให้ทันวันลงเสาเอก 22 มีนาคม 2564

บ้านชั้นเดียว ราคาไม่เกิน 2 ล้านบาท-5บ้านชั้นเดียว ราคาไม่เกิน 2 ล้านบาท-6

 –  วันลงเสาเอกก็จะพิธีอะไรไม่รู้ของแม่ เยอะแยะไปหมด ตามความเชื่อของคนในชุมชน ซึ่งจะมีพิธี 2 วันคือ ตอนเย็นก่อนลงเสาเอกจะต้องมีพิธีสู่ถอน ^_^  ซึ่งเจ้าของกระทู้กับน้องก็ทำตามที่แนะนำเพื่อความสบายใจของคนอยู่อาศัย วันสู่ถอนก็จะมีการนิมนต์พระมาทำพิธีในช่วงตอนเย็น วันที่ 21 มี.ค. 2564

บ้านชั้นเดียว ราคาไม่เกิน 2 ล้านบาท-7บ้านชั้นเดียว ราคาไม่เกิน 2 ล้านบาท-8บ้านชั้นเดียว ราคาไม่เกิน 2 ล้านบาท-9
– ลืมแจ้งไปว่าเจ้าของกระทู้และน้องสาว ทำงานอยู่ต่างจังหวัด จึงสามารถเดินทางเข้าไปดูความคืบหน้าในการก่อสร้างได้แค่ เดือนละ 1 ครั้ง หรือ 2 เดือนครั้ง แต่ในระหว่างก่อสร้าง ผู้รับเหมาก็ส่งไลน์ให้ดูการทำงานเป็นระยะ ๆ ซึ่งการทำงานของผู้รับเหมาชุดนี้ ไม่ได้สร้างความหนักใจหรือความปวดหัวให้กับเจ้าของกระทู้เลย งานก่อสร้างเป็นไปตามแบบแปลนทุกอย่าง ซึ่งหากผู้รับเหมามีข้อสงสัยเกี่ยวกับแบบแปลน ก็จะโทรมาแจ้งให้เจ้าของกระทู้รับทราบทุกครั้ง

บ้านชั้นเดียว ราคาไม่เกิน 2 ล้านบาท-10บ้านชั้นเดียว ราคาไม่เกิน 2 ล้านบาท-11บ้านชั้นเดียว ราคาไม่เกิน 2 ล้านบาท-12บ้านชั้นเดียว ราคาไม่เกิน 2 ล้านบาท-13บ้านชั้นเดียว ราคาไม่เกิน 2 ล้านบาท-14
– ระหว่างนี้ผู้รับเหมาก็ได้แจ้งให้เจ้าของกระทู้ไปทำการเลือกกระเบื้องปูพื้น ผนัง และสุขภัณฑ์เตรียมไว้ ซึ่งการเลือกกระเบื้องและสุขภัณฑ์เป็นอะไรที่เลือกยากมากจริง ๆ เลือกจนตาลาย เมื่อยขา กว่าจะสรุปได้ลงตัว เพราะตอนแรกเลือกแล้วคิดว่าสวยแล้ว แต่พอเดินไปเจอกระเบื้องอีกสีอีกลายก็เปลี่ยนใจไปมา ^____^

บ้านชั้นเดียว ราคาไม่เกิน 2 ล้านบาท-15บ้านชั้นเดียว ราคาไม่เกิน 2 ล้านบาท-21บ้านชั้นเดียว ราคาไม่เกิน 2 ล้านบาท-20บ้านชั้นเดียว ราคาไม่เกิน 2 ล้านบาท-19บ้านชั้นเดียว ราคาไม่เกิน 2 ล้านบาท-18บ้านชั้นเดียว ราคาไม่เกิน 2 ล้านบาท-17บ้านชั้นเดียว ราคาไม่เกิน 2 ล้านบาท-16
 – บ้านหลังนี้เป็นทรงหลังคาเพิงหมาแหงน เจ้าของกระทู้เลือกใช้หลังคากระเบื้องโปรลอนของ SCG สีเทาศิลา เป็นกระเบื้องหลังคาที่ออกแบบมาสำหรับสำหรับบ้านสไตล์โมเดิร์นที่มีความลาดชันหลังคาต่ำ

บ้านชั้นเดียว ราคาไม่เกิน 2 ล้านบาท-22บ้านชั้นเดียว ราคาไม่เกิน 2 ล้านบาท-24บ้านชั้นเดียว ราคาไม่เกิน 2 ล้านบาท-23

– ภายในบ้านค่ะ

 

 15 สิงหาคม 2564  ผู้รับเหมาได้ทำการส่งมอบบ้าน ที่แล้วเสร็จเป็นที่เรียบร้อย ซึ่งในการสร้างบ้านหลังนี้ บอกตามตรงเลยค่ะว่าไม่เคยปวดหัวกับผู้รับเหมาเลย แจ้งให้ทำอะไรหรือแก้ไขอะไรได้ตามความต้องการแบบไม่ผิดเพี้ยนเลย นับว่าเป็นความโชคดีของเจ้าของกระทู้เลยจริง ๆ ต่อไปเป็นภาพบ้านที่แล้วเสร็จ 100% ค่ะ

บ้านชั้นเดียว ราคาไม่เกิน 2 ล้านบาท-25บ้านชั้นเดียว ราคาไม่เกิน 2 ล้านบาท-38บ้านชั้นเดียว ราคาไม่เกิน 2 ล้านบาท-37บ้านชั้นเดียว ราคาไม่เกิน 2 ล้านบาท-36บ้านชั้นเดียว ราคาไม่เกิน 2 ล้านบาท-35บ้านชั้นเดียว ราคาไม่เกิน 2 ล้านบาท-34บ้านชั้นเดียว ราคาไม่เกิน 2 ล้านบาท-33บ้านชั้นเดียว ราคาไม่เกิน 2 ล้านบาท-32บ้านชั้นเดียว ราคาไม่เกิน 2 ล้านบาท-31บ้านชั้นเดียว ราคาไม่เกิน 2 ล้านบาท-30บ้านชั้นเดียว ราคาไม่เกิน 2 ล้านบาท-29บ้านชั้นเดียว ราคาไม่เกิน 2 ล้านบาท-28บ้านชั้นเดียว ราคาไม่เกิน 2 ล้านบาท-27บ้านชั้นเดียว ราคาไม่เกิน 2 ล้านบาท-26

ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก คุณ ผักหนาม สมาชิกเว็บไซต์พันทิปดอทคอม

#micropile #spun micropile #เสาเข็มไมโครไพล์ #ไมโครไพล์

Leave a Reply