โครงสร้างบ้าน

ปัญหาที่ต้องระวังของโครงสร้างบ้าน ก่อนที่จะเป็นเรื่องใหญ่

โครงสร้างบ้าน คือจุดที่สำคัญที่จะประกอบขึ้นมาเป็นตัวบ้านได้ เป็นส่วนที่ต้องรับน้ำหนักของตัวบ้านเอาไว้ทั้งหมด หากมีส่วนใดที่ชำรุด เสียหายขึ้นมา อาจเกิดความเสียหายขึ้นกับบ้านทั้งหลังได้ เช่น บ้านทรุด บ้านเอียง บ้านยุบตัว หรือถึงขั้นถล่มลงมาทั้งหลังเลย ซึ่งความเสียหายนี้อาจจะเกิดขึ้นระหว่างการก่อสร้าง หรือว่าเสียหายตอนที่อยู่อาศัยแล้วก็ได้ เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สิน จึงต้องตรวจเช็ค สังเกตถึงความผิดปกติของโครงสร้างเอาไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ

1. เสาเข็ม 

ถือเป็นส่วนแรกสุดของการสร้างบ้านเลย  ถ้าสร้างไม่ดีเริ่มจากจุดนี้ก็พลอยทำให้ทุกส่วนมีปัญหาได้เช่นกัน โดยหลักแล้วเสาเข็มจะรับน้ำหนักของตัวอาคารลงสู่ดิน ดังนั้นเสาเข็มต้องแข็งแรงตอกลงดินไปลึกพอให้รับน้ำหนักของอาคารและหลังคาได้ ไม่ชำรุดหรือมีความเอนเอียง เสาเข็มที่ใช้กับการสร้างบ้านจะมีสองแบบคือ 

  • เสาเข็มคอนกรีตระบบตอก 
    มักใช้กับโครงสร้างบ้าน หรืออาคารทั่วไป การเลือกความยาวของเข็มที่ตอกขึ้นอยู่กับลักษณะของหน้าดินว่าเป็นแบบไหนมีความแข็งสักเท่าไหร่ บ้านในเขตกรุงเทพจำเป็นต้องมีการตอกเสาเข็มและมักใช้ความยาวอยู่ที่ 20 เมตร ส่วนขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของเข็มขึ้นอยู่กับการคำนวณของวิศวกร
  •  เสาเข็มเจาะ 
    การทำเสาแบบนี้จะมีการเจาะดินลงไปก่อน เส้นผ่านศูนย์กลางของเข็มขึ้นอยู่กับการคำนวณของวิศวกร แล้วจึงเทคอนกรีตลงในรูที่เจาะเอาไว้ มักใช้กับบริเวณที่ไม่สามารถขนส่งเสาไปในที่ก่อสร้างได้ หรือไม่สามารถทำการตอกเสาเข็มได้ เพราะแรงสั่นสะเทือนอาจสร้างความเสียหายให้กับอาคารข้างเคียงได้ การทำเสาเข็มแบบเจาะจึงมีราคาสูงกว่าแบบตอกประมาณ 3 เท่า

2. พื้น 

คือส่วนที่เราต้องสัมผัสอยู่ตลอดเวลาจึงนับว่าสำคัญมาก ต้องสร้างให้ดีเพื่อที่จะได้ใช้ชีวิตได้อย่างสะดวกสบาย ถ้าพื้นมีระดับไม่เท่ากันไม่ราบเรียบย่อมสร้างปัญหาตอนอยู่อาศัยแน่ ๆ ให้บอกช่างทำการแก้ไขทันที พื้นที่สร้างบ้านจะมีสองแบบคือ

  • พื้นคอนกรีตแบบหล่อ
    เป็นพื้นแบบที่ต้องทำขึ้นมาเอง มักจะใช้กับพื้นที่ที่มีน้ำหนักมาก มีข้อจำกัดอย่างต้องวางท่อ เว้นช่องบันได เป็นต้น การหล่อจะสามารถทำให้เรากำหนดรูปร่างของพื้นได้ตามแบบที่ต้องการ
  •  พื้นคอนกรีตสำเร็จรูป 
    มีให้เลือกใช้ทั้งแบบท้องเรียบและแบบลูกฟูก จะต้องนำมาวางบนคานก่อนจะวางตะแกรงเหล็กกันร้าว แล้วเทคอนกรีตทับหน้า จากนั้นจึงปูพื้นด้วยวัสดุแต่งพื้นอีกครั้งหนึ่ง สามารถทำงานได้รวดเร็วกว่าพื้นคอนกรีตแบบหล่อกว่ามาก

3. ผนัง 

เป็นส่วนที่ปิดประกอบให้บ้านมิดชิดมีความเป็นส่วนตัว กันแดด กันฝน กันลม อาศัยอยู่ในบ้านได้ ผนังมีให้เลือกใช้หลายชนิด เช่น ผนังฉาบปูน ผนังยิปซัม ผนังอิฐมวลเบา หรือผนังไม้ และแต่ละชนิดเองก็มีปัญหาแตกต่างกันไป ต้องคอยสังเกตว่าพบปัญหาในวัสดุที่ใช้อยู่หรือเปล่า? เพราะถ้ามีปัญหาตอนสร้างก็ยังทำการเปลี่ยนแก้ไขได้ทัน หากปล่อยทิ้งไว้ยิ่งอยู่จะยิ่งแตกร้าวและมีปัญหามากกว่าเดิมได้

เมื่อพบปัญหาที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างบ้าน เช่น มีรอยร้าวที่ เสา ผนัง หรือพื้น ควรรีบปรึกษาผู้เชี่ยวชาญหรือวิศวกรทันที อย่าปล่อยปัญหาทิ้งไว้ หรือมาแก้ในภายหลัง เพราะบ้านที่สวยแค่ไหนก็ไม่มีความหมาย หากอยู่แล้วมีความเสี่ยง อาจเป็นอันตรายต่อชีวิตผู้อยู่อาศัยได้

ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ บริษัท ณรงค์ ไมโครสปัน จำกัด

https://www.nmp.co.th

https://www.narongmicropile.com

https://www.facebook.com/narongmicrospun

Tel : 02-159-8480

Mobile : 081-309-7695 , 086-413-3862

Leave a Reply