เสาเข็มไมโครไพล์ (ไมโครไพล์, micropile) - บริษัทณรงค์ ไมโครสปัน จำกัด

รอยแตกร้าวแบบใด ซ่อมได้ ไม่น่าเป็นห่วง?

#alt_tag #separator_sa #current_date

รอยแตกร้าว ถือเป็นปัญหาที่สร้างความกังวลใจให้กับเจ้าของบ้านไม่ใช่น้อย อีกทั้งยังต้องมานั่งลุ้นว่าบ้านจะทรุดตัว เอียง หรือ ถล่มลงมาไหม เนื่องจากรอยแตกร้าวบางประเภท ก็สร้างปัญหาใหญ่ให้บ้าน แต่บางประเภทก็เป็นเพียงสัญญาณบอกเล็กๆ น้อยๆ แต่ไม่ถึงกับสร้างปัญหาต่อโครงสร้างบ้านแต่อย่างใด โดยรอยร้าวชนิดต่างๆที่เกิดขึ้นภายในบ้าน หรือ อาคาร จะมีอยู่หลายประเภท ซึ่งปัญหารอยเหล่านี้เรียกได้ว่าเป็นปัญหาที่อาจเกิดจาก ผนังโครงสร้าง การเลือกใช้วัสดุ และผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้คุณภาพ รวมถึงการก่อสร้างจากช่างที่ไม่มีฝีมือ

รอยแตกร้าวเกิดขึ้นภายในบ้านเรือน หรือ อาคาร เป็นเรื่องปกติที่มักพบเห็น ไม่ว่าจะเป็นบ้านหลังใหม่ หลังเก่า ก็ต้องพบรอยร้าวเป็นเรื่องธรรมดา แต่! รอยร้าวประเภทไหนที่ไม่ส่งผลต่อโครงสร้างบ้าน และไม่สร้างความอันตราย ดังนี้

รอยแตกร้าวบนผนังบ้าน

รอยร้าวเฉียงที่ผนังมุมด้านซ้ายไปมุมขวา รอยแตกร้าวชนิดนี้ แสดงว่าโครงสร้างมีการบิดตัว โดยเกิดจากเสาของบ้านที่มีการทรุดตัวแตกต่างกัน และคานที่รัดเสามีการพยุงเสาเอาไว้ให้อยู่ระนาบเดียวกันไม่ได้ ทำให้เกิดการทรุดตัว และเป็นรอยร้าวจากผนังมุมล่างซ้ายไปมุมบนขวา รอยแตกร้าวชนิดนี้ไม่อันตรายมากนัก หากรอยแตกร้าวมีเพียงขนาดเท่าเดิม และไม่มีการขยายตัว แต่ในกรณีที่รอยแตกร้าวมีการขยายตัว และเพิ่มขึ้น ซึ่งนั่นอาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าถึงขั้นอันตรายควรปรึกษาสถาปนิก ทำการซ่อมแซมโดยด่วน

รอยร้าวแตกลายงาตามผนังก่ออิฐฉาบปูน รอยแตกร้าวรายงานประเภทนี้ ต้นเหตุมาจากการแตกลายงาบนผนังที่ปูนฉาบแห้งเร็วเกินไป และมีการฉาบที่ไม่ได้มาตรฐาน หรือ การใช้ปูนที่มีการบ่มไม่ดีมาฉาบ อาจทำให้เกิดรอยร้าว แตกลายงาตามผนังได้ รอยร้าวชนิดนี้ไม่ส่งผลต่อโครงสร้างเพียงแต่ต้องฉาบปิดรอยร้าว เพื่อความสวยงาม

รอยร้าวบริเวณรอยต่อผนังกับโครงสร้างเสา และคาน รอยร้าวชนิดนี้ มักเกิดจากรอยต่อมุมของผนังห้อง เกิดจากการก่อสร้างผนัง หรือ เสา ที่ไม่ได้เสียบเหล็กหนวดกุ้งเกาะยึดกับโครงสร้างเสา ถ้าหากมีการเสียบก็อาจจะไม่แน่นพอ ทำให้เกิดรอยร้าวระหว่างรอยต่อของเสาได้ลักษณะรอยร้าวชนิดนี้ไม่ส่งผลต่อความแข็งแรงโครงสร้าง แต่หากต้องการซ่อมแซม ก็สามารถทำได้เพื่อความสวยงามของบ้าน

รอยแตกร้าวที่พื้นโรงจอดรถ รอยแตกร้าวพื้นโรงจอดรถ สามารถพบเห็นได้บ่อย ซึ่งอาจจะเกิดการกดทับ หรือ พื้นมีการแห้งตัวโดยเร็ว เพราะพื้นโรงจอดรถเป็นบริเวณที่ต้องรับน้ำหนักมาก จึงเป็นเรื่องปกติที่จะเกิดรอยแตกร้าว หรือ ปัญหาเหล่านี้ ไม่ส่งผลต่อตัวโครงสร้างบ้าน

รอยแตกร้าวบริเวณวงกบประตู รอยแตกร้าวบริเวณวงกบประตู – หน้าต่างรอยเหล่านี้มักเกิดจากการยืดหดตัวของวงกบประตู – หน้าต่าง อาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ และมีความชื้นจึงทำให้เกิดรอยแตกร้าว ไม่ส่งผลต่อตัวโครงสร้างบ้านและสร้างความอันตรายแต่อย่างใด แต่อาจจะทำให้บ้านไม่สวยงาม หากต้องการซ่อมแซม ก็สามารถทำได้

ชนิดของรอยแตกร้าวแต่ละประเภท มีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับบริเวณและปัญหาที่พบ ดังนั้นหากรอยแตกร้าวตามบริเวณต่างๆ ของบ้านมีการขยายตัว หรือ เพิ่มจำนวนมากยิ่งขึ้น นั่นอาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าคุณควรทำการซ่อมแซม และระวังเป็นพิเศษ แต่หากเกิดรอยร้าวบนผิวผนังเล็กๆ น้อยๆ และไม่มีการขยายตัวหรือ มีขนาดเล็ก อาจไม่ได้เป็นปัญหาที่ต้องกังวลมากนัก สำหรับรอยแตกร้าวบนผนัง หากต้องการซ่อมแซมแนะนำเลือกใช้พวก อะคริลิกกันน้ำรั่วซึม ยืดหยุ่นสูง ปิดรอยแตกร้าว ซึ่งมีขายทั่วไปตามร้านวัสดุก่อสร้าง

ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ บริษัท ณรงค์ ไมโครสปัน จำกัด

https://www.nmp.co.th

https://www.narongmicropile.com

https://www.facebook.com/narongmicrospun

Tel : 02-159-8480

Mobile : 081-309-7695 , 086-413-3862

Exit mobile version